ย้อนรอยประวัติศาสตร์ตามรอยเสด็จ พระพุทธเจ้าหลวง ร.ศ.108

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือ พระพุทธเจ้าหลวง แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงอุทิศให้กับภารกิจของบ้านเมือง ทั้งด้านการเมือง การปกครอง การพัฒนาประเทศอย่างอเนกประการ พระองค์ได้ทรงสอดส่องดูแลทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์อย่างใกล้ชิด ดังเห็นได้จากการเสด็จประพาสต้นและการเสด็จประพาสหัวเมืองอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะหัวเมืองปักษ์ใต้ตลอดแหลมมลายู ในปีพุทธศักราช 2432 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ได้เสด็จประพาสหัวเมืองภาคใต้ตลอดแหลมมลายูครั้งนั้นได้เสด็จเกาะสี่เกาะห้าดังข้อความที่ปรากฏในพระหัตถเลขา จดหมายเหตุเสด็จประพาสแหลมมลายู ร.ศ. 108 ดังนี้

วันที่ 22 กรกฎาคม ออกจากเมืองสงขลา ผ่านปากจ่า เกาะญวน ปากพะยูน เกาะปราบ ถึงเกาะรังนก (เกาะสี่เกาะห้า) ประทับแรมพลับพลาที่ประทับบนเกาะมวย

วันที่ 23 กรกฎาคม ประพาสหน้าพลับพลาและถ้ำใหญ่ ถ้ำพระ ถ้ำยูหลี ถ้ำแรงวัว ถ้ำลูซิม บนเกาะดำ แล้วไปถ้ำเสือ ถ้ำแรดท้ายเกาะมวย ทอดพระเนตรเกาะเข็ม

วันที่ 24 กรกฎาคม จารึกอักษร จ.ป.ร. และศักราช 108 ไว้ที่หน้าผาเทวดาแล้วเสด็จขึ้น เขาชันซึ่งเป็นเกาะใหญ่อยู่หลังเกาะสี่เกาะห้า มีการไล่จง รุ่งขึ้นเสด็จไปพัทลุง

วันที่ 25 – 26 กรกฎาคม เสด็จเมืองพัทลุง

วันที่ 27 กรกฎาคม จากเมืองพัทลุงถึงเกาะสี่เกาะห้า ประทับแรม

วันที่ 28 กรกฎาคม ออกจากเกาะสี่เกาะห้าถึงเมืองสงขลา

จากการเสด็จประพาสครั้งนั้น จึงถือเป็นปีสำคัญสำหรับเมืองพัทลุง ถือเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การจดจำไว้อย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ทรงเสด็จเยี่ยมพสกนิกรไพร่ฟ้าของแผ่นดินถึงถิ่นเมืองพัทลุง ที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมาก และการเสด็จประพาสหัวเมืองภาคใต้เต็มไปด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง เพราะการคมนาคมไม่สะดวกเช่นทุกวันนี้

บ่อน้ำโบราณที่ไม่เคยเหือดแห้งในวัดทะเลน้อยเป็นบ่อน้ำลี้ลับจริงหรือ

บ่อน้ำโบราณที่วัดทะเลน้อย จ.พัทลุง ตั้งอยู่ด้านหลังของอุโบสถโบราณภายในวัดทะเลน้อย แต่เดิมเป็น บ่อน้ำก่ออิฐโบราณ ปากบ่อมีความสูงจากพื้นดินประมาณ 2 ฟุต หากเณรน้อยตัวเล็กๆ นั่งที่พื้นข้างปากบ่อ ขอบบ่อจะอยู่ระดับคอของเณรพอดี สมัยก่อนเมื่อพระจะฉันข้าว พระและเณรจะใช้กาต้มน้ำจ้วงตักน้ำไปฉันที่โรงฉันได้เลยเพราะระดับน้ำในบ่ออยู่ในระยะที่จ้วงถึงได้พอดี ส่วนน้ำใช้พระก็จะใช้ต้อหมาก ต้อพร้าวตักน้ำใส่ตีบ (ปี๊บ) ที่เอาแท่งไม้มาตอกตะปูทำหูหิ้วแล้วใช้คานหาบหาบน้ำหรือหิ้วไปใส่ตุ่มใช้อาบในห้องน้ำและไว้ใช้ในกุฏิกัน รวมถึงชาวบ้านที่มาตักน้ำไปใช้ที่บ้านด้วย

🔶บ่อน้ำนี้ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง แต่ถือเป็นมรดกของบรรพบุรุษซึ่งเราต้องรักษา เป็นบ่อน้ำที่ไม่เคยเหือดแห้ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้สร้างต้องเป็นผู้มีภูมิปัญญาชั้นเลิศ เพราะท่านเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ในยุคที่ไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่เลย ผู้สร้างบ่อน้ำนี้ท่านรู้ได้อย่างไรว่าตาน้ำอยู่ตรงจุดนี้ และ เป็นจุดที่น้ำไม่เคยแห้งเหือดเลย พวกเราต้องขอขอบพระคุณท่านผู้สร้างบ่อน้ำนี้เป็นอย่างสูงที่สร้างคุณประโยชน์เกี่ยวกับน้ำอุปโภคบริโภคให้พวกเราได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

🔶บ่อน้ำนี้ไม่มีใครทราบว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด แต่ลองนึกภาพย้อนไปในสมัยโบราณก่อนที่จะใช้น้ำบ่อกัน คนสมัยนั้นอาจจะใช้น้ำจากสระ พัง คลอง หรือบ่อดินเล็กๆ ที่ขุดใช้เองกัน ส่วนบ่อน้ำแบบนี้ไม่รู้ว่าเริ่มสร้างมาใช้กันตั้งแต่สมัยใด รู้แต่ว่าเก่าแก่โบราณ แต่หากจะลองเชื่อมโยงเทียบเคียงกับประวัติการใช้บ่อน้ำที่จังหวัดสงขลา เมืองที่มีฉายาว่า “สงขลามีบ่อ” ดู ก็จะพบว่ามีหลักฐานบอกไว้ว่า คนสงขลาเริ่มใช้บ่อน้ำลักษณะคล้ายกันนี้มาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่3(ครองราชย์ พ.ศ. 2367 – 2394)

เริ่มจากคนจีนเข้ามาอยู่พร้อมนำภูมิปัญญาการจัดการน้ำมาด้วย พวกเขานิยมขุดบ่อน้ำแบบนี้ไว้ที่บ้าน เพื่อเป็นสิริมงคล และด้วยเหตุผลที่สงขลาอยู่ติดอ่าวไทยและทะเลสาบจึงต้องขุดบ่อหาแหล่งน้ำจืดไว้ใช้สอยกันเกือบทุกครัวเรือน และด้วยเหตุที่บ่อน้ำมีจำนวนมากนี้เองจึงทำให้ชื่อตำบลหมู่บ้านในสงขลามักใช้คำว่า “บ่อ” นำหน้า เช่น บ่อยาง บ่อดาน บ่อแดง บ่อโด บ่อใหม่ บ่อตรุ บ่อโตระ บ่อหิน บ่อทราย บ่อสระ บ่อท่อ บ่อทรัพย์ บ่อพลับ บ่อหว้า บ่อป่า บ่อเก๋ง และอีกสารพัดบ่อนั้นเอง

และวีถีเรื่องการใช้บ่อน้ำนี้ยังได้แผ่ขยายออกไปยังละแวกใกล้เคียงจนมีการใช้บ่อน้ำกันอย่างแพร่หลาย รูปร่างหน้าตาของบ่อน้ำก็ถูกปรับเปลี่ยนไปตามความสมัยใหม่ของกาลเวลา นี้เป็นเพียงหลักฐานส่วนหนึ่งที่พอหาได้ แต่หลักฐานดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับการใช้บ่อน้ำที่ เมืองพัทลุงมีควนและดอน ( นครมีท่า ตรังมีนา สงขลามีบ่อ) หรือไม่ หรือบ่อน้ำนี้จะมีมาก่อนหน้านี้แล้ว นั้นก็ขอให้ท่านไปสันนิษฐานกันเอาเองก็แล้วกัน หรือหากใครพอมีหลักฐานเพิ่มเติมก็ขอให้มาเล่าสู่กันฟังด้วย

🔶ช่วงปรับปรุงบ่อน้ำครั้งใหญ่

กลับมาที่บ่อน้ำของเรากันต่อ ชาวชุมชนทะเลน้อยมีความผูกพันกับบ่อน้ำแห่งนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นศูนย์กลางของชุมชน ที่ชาวบ้านมักจะมาพบปะพูดคุยกันขณะมาตักน้ำจืดใสสะอาดด้วย หมาน้ำ ใส่ตีบ (ปี๊บ) ถั่ง(ถัง) หม้อเขียวหูหิ้ว ลอน (แกลลอน) จากนั้นทั้งหาบ ทั้งหิ้ว ทั้งใส่รถรุนไปดื่ม กิน ใช้กันที่บ้าน

บางคนก็มาตักน้ำด้วยตนเอง บางคนก็ซื้อน้ำจากคนที่มาตักน้ำจากบ่อแต่เช้ามืดแล้วใส่รถรุน หรือหาบน้ำไปขายตามบ้าน เช่น ตาหลบ(ผู้ริเริ่มการหาบน้ำขาย) ลุงปลอด ลุงเชื้อ น้าแหวง บ่าวเอียด และคนอื่นๆ ในราคาปี๊ปละ 50 สตางค์ แล้วขยับขึ้นมาเป็นปี๊บละ 1 -5 บาท จากนั้นก็ขายเป็นแกลลอนขนาด 15 -20 ลิตร แกลลอนละ 3 -5 บาท ใครอยากซื้อน้ำก็ตะโกนบอก กวักมือเรียกกันได้ ถือว่าคนทะเลน้อยไม่เชย เพราะมีการส่งสินค้าถึงบ้านกันตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว

🔶และเมื่อใช้บ่อกันไประยะหนึ่ง ก้นบ่อจะสกปรก เพราะใบไม้ กิ่งไม้ หิน โคลน ดิน ตกตะกอนหมกหมม พระสงฆ์จึงช่วยกันทำความสะอาดบ่อ โดยการวิดน้ำออกแล้วเอาบาตรเอาผ้าอุดตาน้ำไว้ เมื่อน้ำหยุดไหลจะวิดน้ำที่เหลือออกแล้วรื้อเอาเศษสิ่งสกปรกทิ้งไป เป็นแบบนี้มานานหลายชั่วอายุคน ต่อมาได้มี การปรับปรุงบ่อน้ำครั้งใหญ่ขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530 ต้นๆ

เพราะลักษณะเดิมของปากบ่อที่อยู่ในระดับต่ำจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุ คือคน หมา แมวพลัดตกลงไปในบ่ออยู่เป็นประจำ อีกทั้งสิ่งสกปรกก็ตกลงไปได้ง่ายด้วย เพื่อความปลอดภัยและความสะอาด ท่านพระครูปริยัตยาภิวัฒน์ เจ้าอาวาสในสมัยนั้นพร้อมเณรและชาวบ้าน จึงได้ทำการรื้อบ่อ เอาอิฐโบราณออกไปเหลือแต่ส่วนที่เป็นฐานไว้แล้วหล่อท่อปูนซีเมนต์ทรงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.60 ม. เส้นรอบวง 5 ม. ความลึกจากก้นบ่อถึงปากบ่อ 6.25 ม. กรวม (ครอบ) ลงไปบนฐานเดิม จนมีลักษณะดังที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนระดับน้ำนั้นจะขึ้นลงตามฤดูกาล โดยปัจจุบันระดับน้ำจะลึกท่วมหัวประมาณ 2.12 ม. (วัดระดับน้ำเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565)

🔶ด้านคติความเชื่อเกี่ยวกับบ่อน้ำนี้ มีเรื่องเล่าที่คนสมัยก่อนมักเล่าให้ฟังถึงความเก่าแก่ มนต์ขลัง และเหตุการณ์ลี้ลับยากจะพิสูจน์หลายเหตุการณ์ จนทำให้พวกเราผู้ฟังวัยเด็ก รู้สึกตื่นเต้นและขนหัวลุกกันเลยทีเดียว แต่ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงให้ผู้อ่านทราบเสียก่อนว่า เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ผู้ถ่ายทอดเรื่องเหล่านี้บางคนก็ประสบเจอเหตุการณ์ด้วยตนเอง บางคนได้ฟังต่อๆ กันมาอีกทอดหนึ่งเท่านั้น และ ❌ขอย้ำว่าการเล่าเรื่องในครั้งนี้
ไม่ได้มีเจตนาจะทำให้เกิดความเชื่อที่ปราศจากปัญญาและหลักเหตุผล❌ จึงขอให้ผู้อ่านได้ใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วย

🔶ตัวอย่าง เรื่องลี้ลับ เกี่ยวกับบ่อน้ำที่ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าไว้ เช่น

◾️ในบางค่ำคืนจะมีคนเห็น พระภิกษุชราเดินออกมาจากอุโบสถโบราณมาอาบน้ำที่บ่อ เมื่อเด็กวัดเดินไปดูใกล้ๆ พระภิกษุชรารูปนั้นกลับหายไป แต่ทิ้งร่องรอยไว้คือน้ำที่ยังเปียกอยู่บนพื้นดินเท่านั้น

◾️บางครั้งก็มีคนพบ ไหสมบัติกลิ้งเคลื่อนที่ได้ พอเดินตามไป ไหนั้นจะกลิ้งไปที่บ่อน้ำหลังอุโบสถเก่าและตกหายลงในบ่อ หาเท่าไรก็ไม่เจอ

◾️บ้างก็มีคนเห็น งูเห่าเผือกมีหงอนตัวใหญ่ เลื้อยเข้า-ออกจากโพรงดินใต้ฐานพระประธานในอุโบสถหลังเก่า ดูน่าเกรงขามยิ่ง

◾️บางครั้งก็มีการใช้น้ำจากบ่อ ไปใช้ รักษาคนไข้ เมื่อคนไข้ได้ดื่มน้ำจากบ่อนี้แล้วจะหายจากความเจ็บป่วย

◾️และชาวบ้านก็ยังเชื่อกันอีกด้วยว่า ใครก็ตามที่ทำไม่ดีมา เมื่อมากินน้ำที่บ่อนี้ จะมีอันเป็นไป เช่น ชักกระตุก ตาเหลือก เป็นต้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่ฝ่าฝืนมาอาบน้ำที่บ่อนี้ เพราะมีกฎว่า ห้ามผู้หญิงมาอาบน้ำที่นี้

🔶เรื่องเหล่านี้จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ไม่มีใครทราบได้ แต่มันก็ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าทำให้บ่อน้ำสกปรก และช่วยกันดูแลความสะอาดของน้ำและบ่อน้ำเรื่อยมา หรือนี้จะเป็น ❗️กุศโลบายอันแยบยล เพื่อคงผลประโยชน์ให้แก่คนทุกคนในชุมชนสืบมาก็เป็นได้ ขอให้ท่านคิดไตร่ตรองกันเอาเอง

🔶และหากท่านมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับบ่อน้ำที่วัดทะเลน้อยที่ท่านเคยได้รับรู้มาและอยากถ่ายทอดให้ชาวชุมชนได้รับรู้ด้วย ท่านสามารถเล่าเรื่องราวเหล่านั้นได้ที่คอมเม้น หรือส่งมาทางกล่องข้อความในเพจวัดทะเลน้อย จ.พัทลุงได้ตลอดเวลา

🔶ปัจจุบันวัดทะเลน้อยมีบ่อน้ำทั้งหมด 3 บ่อ คือ 📍บ่อที่อยู่หลังอุโบสถเก่า 📍บ่อที่อยู่ในศาลาการเปรียญ และ📍บ่อที่อยู่ข้างต้นยางใหญ่ทางทิศตะวันตกของวัด

🔶แม้เราจะไม่ได้ใช้น้ำจากบ่อน้ำเหล่านี้กันแล้ว แต่มันก็เป็นหลักฐานที่ดีซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเทียดทวดโปย่าพ่อเฒ่าแม่เฒ่าของชาวทะเลน้อย~พนางตุงมีวิถีชีวิตกันอย่างไร มันทำให้พวกเราคิดถึงพวกท่านขึ้นมาจับใจ พอนึกภาพย้อนไปก็ได้แต่ ☺️อมยิ้มมีความสุข กับความผูกพันของเรากับท่านและภาพวิถีชีวิตแบบที่หาไม่ได้ในสมัยนี้

🔶พวกเราลูกหลานชาวทะเลน้อย~พนางตุงจึงขอร่วมอนุรักษ์บ่อน้ำเหล่านี้ไว้ให้ลูกหลานได้เห็นสืบไป

พระครูปลัดประสิทธิ์ ปสฏฺโฐ
เจ้าอาวาสวัดทะลเน้อย ผู้เรียบเรียง

วัดทะเลน้อย จ.พัทลุง

วัดทะเลน้อย ตั้งอยู่เลขที่ 56 บ้านทะเลน้อย หมู่ที่ 2 ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ พ.ศ. 2154 ในช่วงกลางสมัยอยุธยา ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เดิมมีนามว่า “วัดแจ้ง” หรือ ชาวชุมชน เรียกว่า “วัดล่าง” #นับว่าวัดทะเลน้อยเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของตำบลทะเลน้อยและตำบลพนางตุง

ตามตำนานเล่าว่า ชุมชนทะเลน้อยได้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย และสลายตัวไปหลังจากมีการตัดโค่นต้นตะเคียนจำนวนมากไปต่อเรือที่บางแก้วในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นเหตุให้เกิดความแห้งแล้งและไฟป่าเผาผลาญ จนประชาชนต้องอพยพไปอยู่ในเขตนครศรีธรรมราช

เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 100 ปี ในช่วงกลางของสมัยอยุธยา ทะเลน้อยกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ประชาชนรุ่นหลาน เหลน ของประชาชนที่อพยพไปตั้งหลักแหล่งในเขตนครศรีธรรมราชจึงได้อพยพกลับมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ทะเลน้อยตามเดิม โดยมีจุดกำเนิดของชุมชนอยู่ 2 จุดคือบริเวณวัดทะเลน้อย ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ต. ทะเลน้อย และบริเวณสำนักสงฆ์ท่าประดู่ทอง (วัดชายคลองหรือวัดหัวประดู่ในอดีต)

ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ต.พนางตุง ซึ่งเป็นบริเวณราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ ทำให้ประชาชนมีอาชีพหลักที่สร้างรายได้ที่ดีจนทำให้เศรษฐกิจดีและจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสามารถสร้าง #สำนักสงฆ์ท่าประดู่ทอง (วัดชายคลองหรือวัดหัวประดู่ในอดีต) ใน พ.ศ. 2118 และ #วัดทะเลน้อย ใน พ.ศ. 2154 ขึ้นมาเป็นสถาบันที่เป็นศูนย์กลางจิตใจของประชาชนชุมชนทะเลน้อยในระยะแรกได้ในเวลาไม่นานนัก

เวลาผ่านไปชุมชนทะเลน้อยได้ค่อยๆ ขยายตัวเติบโตขึ้นตามลำดับ เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นก็ได้สร้างวัดเพิ่มขึ้นอีกวัดหนึ่ง คือ #วัดประดู่หอม (วัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์)) หรือ “วัดบน” ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ใน พ.ศ. 2256 ในช่วงปลายของสมัยอยุธยา หลังจากสร้างวัดทะเลน้อยประมาณ 102 ปี ซึ่งห่างกันไม่ถึงสองชั่วอายุคน และเป็นวัดที่น่าสนใจ


ส่วนชุมชนบริเวณสำนักสงฆ์ท่าประดู่ทอง (วัดชายคลองหรือวัดหัวประดู่ในอดีต) ได้ประสบกับปัญหาอุทกภัยอยู่เป็นประจำ ชุมชนจึงค่อยๆ ร่วงโรยลงในระยะหลังจนเป็นผลให้ วัดชายคลองหรือวัดหัวประดู่ในอดีตพลอยร่วงโรยลงด้วย จนเหลือเป็นเพียงสำนักสงฆ์ในปัจจุบัน ตรงข้ามกับชุมชนที่ขยายไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ได้มีการหักร้างถางพง ทำสวน ไร่นา และอาชีพใหม่ๆ ก็ขยายตัวเจริญเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ได้สร้าง #วัดไทรงาม ขึ้นใน พ.ศ. 2325 และหลังจากนั้นชุมชนได้ขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็ว จนสามารถสร้างวัดเพิ่มขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน เช่น #วัดพนางตุง ในหมู่ที่ 3 สร้างใน พ.ศ. 2468 #วัดธรรมสถิต ในหมู่ 3 สร้างใน พ.ศ. 2482 และ #วัดสวนธรรมเจดีย์ หมู่ที่ 6 สร้างใน พ.ศ. 2500 เป็นต้น


ในสมัยรัตนโกสินทร์ ชุมชนทะเลน้อยได้ขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็วและเศรษฐกิจก็ดีขึ้นมาก แต่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม ตามหลักฐานบอกว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสภาคใต้และเสด็จไปประทับที่จังหวัดพัทลุง และได้ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับทะเลน้อยไว้ว่า

“ ได้ฟังเสียงธรรมจากพัทลุง และสงขลา กล่าวโทษว่า แถบทะเลน้อยในแขวงเมืองนครศรีธรรมราช มีคนตั้งบ้านเรือนอยู่มากแต่เกือบจะไม่มีคนดีเลยในหมู่บ้าน เป็นคนร้ายทั้งสิ้น ด้วยเป็นชายแดนห่างจากเมืองนครศรีธรรมราชมาก การติดตามผู้ร้ายยากลำบาก”

และด้วยเหตุโจรผู้ร้ายชุกชุม ประชาชนต้องหาวิธีป้องกันตัวด้วยวิธีต่างๆ วิธีหนึ่งที่นิยมกันมาก คือ การเรียนเวทย์มนต์ทางด้านอยู่ยงคงกระพัน และสำนักเวทย์มนต์อยู่ยงคงกระพันที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นคือ #วัดเขาอ้อ ปัจจุบันตั้งอยู่ในตำบลมะกอกเหนือ ต่อมาท่านขรัวจากวัดเขาอ้อได้มาอยู่ที่วัดทะเลน้อยและได้สร้างโบสถ์ของวัดทะเลน้อยขึ้น (ปัจจุบันอายุมากกว่า 200 ปี)

และทำให้วิชาไสยศาสตร์อยู่ยงคงกระพันได้แพร่มายังชุมชนทะเลน้อยด้วย และด้วยเหตุที่การปราบปรามโจรผู้ร้ายทำได้ยาก ทางราชการจึงได้แยกชุมชนทะเลน้อยออกจากนครศรีธรรมราชมาขึ้นกับพัทลุงในคราวปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2439 เพื่อให้การปราบปรามโจรผู้ร้ายทำได้สะดวกขึ้น
ความเป็นมาของชุมชนทะเลน้อย (ตำบลทะเลน้อยและตำบลนางตุง) หลังสมัยปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2439 แล้ว

มีความเกี่ยวพันกับความเป็นมาของ อ.ควนขนุน จ. พัทลุง #อำเภอควนขนุน เดิมชื่อว่า อ.อุดร เพราะอยู่ทางส่วนเหนือของ จ.พัทลุง ที่ว่าการอำเภอก็ตั้งอยู่บนควนขนุนในปัจจุบัน ต่อมาที่ว่าการอำเภอได้ย้ายไปตั้งที่บ้านมะกอกใต้ใกล้ฝั่งแม่น้ำปากประ จึงเรียกว่า “อ.ปากประ” แต่ต่อมาในเดือนเมษายน ร.ศ. 126 (พ.ศ. 2450) ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บ้านทะเลน้อย จึงเปลี่ยนเป็น “อ.ทะเลน้อย” จนถึง ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอขึ้นไปตั้งบนควนพนางตุง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “อ.พนางตุง”

ต่อมาทางราชการเห็นว่าบริเวณนั้นไม่เหมาะสมเพราะไม่เป็นย่านกลางของอำเภอ การปราบปรามโจรผู้ร้ายทำได้ลำบาก ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทางการได้สั่งพระยาวิชัยประชาบาลมาปราบปรามโจรผู้ร้าย พระยาวิชัยประชาบาลได้มาตั้งค่ายที่ #วัดสุวรรณวิชัย ( #วัดท่านทอง: อยู่ทางตอนเหนือของที่ว่าการอำเภอควนขนุนปัจจุบัน)

เพื่อความสะดวกในการปราบปรามและติดต่อประสานงาน จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากควนพนางตุงไปตั้งที่ควนขนุนเดิม เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2467 และเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอควนขนุน” มาจนปัจจุบัน
จากตำนานดังที่กล่าวจึงทำให้เห็นว่าวัดทะเลน้อยเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของ ต.ทะเลน้อยและ ต. พนางตุง อ. ควนขนุน จ. พัทลุง

Cr. วัดทะเลน้อย กรมการศาสนา, ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 3, กรุงเทพฯ โรงพิมพ์การศาสนา, 2529
ทวีศักดิ์ ล้อมลิ้ม และ ภาณุ ธรรมสุวรรณ, “ ลักษณะทางสังคม-เศรษฐกิจการเมืองของประชาชน และโครงสร้างอำนาจชุมชนรอบอ่าวทะเลน้อย”, งานวิจัยเชิงสังคม โดยได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้, 2538

ประวัติ อำเภอควนขนุน

จากคำบอกเล่าของผู้รู้ในตำบล ตำบลควนขนุนเป็นตำบลเก่าแก่มาแต่ดั้งเดิม ไม่ปรากฏว่าย้ายมาจากที่ใดและไม่ปรากฏปีที่จัดตั้ง สำหรับชื่อที่เรียกตำบลควนขนุนเดิมบริเวณนี้มีต้นขนุนอยู่ 1 ต้น

วันหนึ่งมีพระภิกษุเดินผ่านมาได้กลิ่นหอมของขนุนสุก แต่เมื่อมองหาผลบนต้นกลับไม่พบทั้งที่ยังมีกลิ่นหอมอยู่เหมือนเดิม จึงลองช่วยกันขุดใต้ดินบริเวณต้นขนุน พบขนุนมีลักษณะผิวสีทองจึงได้ช่วยกันนำขึ้นมาและไปถวายเจ้าเมือง เจ้าเมืองประทับใจมากที่มีของแปลกประหลาดจึงได้ประทานรางวัลฆ้อง 2 ลูก เป็นฆ้องเงินและฆ้องทอง และประทานชื่อว่า “บ้านควนขนุน”

อำเภอควนขนุนเดิมเรียกว่า อำเภออุดร จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2439 หรือ ร.ศ. 115 มีพระพลสงคราม (โต ศิริธร) เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาภายหลังเป็นพระยาศิริธรเทพสัมพันธ์ เจ้ากรมเสมียนตรา อำเภอตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลควนขนุน และได้ย้ายที่ตั้งอีกจำนวน 4 ครั้ง

ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2445 ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านมะกอกใต้ เรียกว่า อำเภอปากประ 

ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 ย้ายไปที่บ้านพนางตุง ริมทะเลน้อย เรียก อำเภอทะเลน้อย 

ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2460 เรียก อำเภอพนางตุง 

และครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. 2466 ย้ายกลับมาตั้งที่เดิมคือที่บ้านควนขนุน เรียกว่า อำเภอควนขนุน มาจนถึงปัจจุบัน

วันที่ 15 มีนาคม 2445 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภออุดร แขวงเมืองพัทลุง เป็น อำเภอปากประ

วันที่ 18 สิงหาคม 2450 ย้ายที่ว่าการอำเภอปากประ จากบ้านมะกอกใต้ ตำบลมะกอกใต้ ไปตั้งที่บ้านพนางตุง ริมทะเลน้อย ให้เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอปากประ แขวงเมืองพัทลุง เป็น อำเภอทะเลน้อย และโอนพื้นที่ตำบลมะกอกเหนือ ตำบลมะกอกใต้ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองพัทลุง กับโอนพื้นที่ตำบลทะเลน้อย ตำบลตะเครียะ ตำบลหัวป่า ตำบลบ้านพร้าว และตำบลสำโรง จากอำเภอพังไกร (อำเภอหัวไทรในปัจจุบัน) จังหวัดนครศรีธรรมราช มาขึ้นกับอำเภอทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง

วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เป็น อำเภอพนางตุง

วันที่ 20 พฤษภาคม 2460 โอนพื้นที่ตำบลตะเครียะ อำเภอทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

วันที่ 16 กันยายน 2466 ย้ายที่ว่าการอำเภอพนางตุง จากเขาพนางตุง ไปตั้งที่ตำบลควนขนุน เรียกว่า อำเภอควนขนุน

วันที่ 20 กันยายน 2468 โอนพื้นที่บางหมู่บ้านของตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน ไปขึ้นกับตำบลมะกอกใต้ อำเภอคูหาสวรรค์ (อำเภอเมืองพัทลุง) โอนพื้นที่ 1 หมู่บ้านของตำบลป่าพะยอม ไปขึ้นกับตำบลปันแต และโอนพื้นที่ 1 หมู่บ้านของตำบลชะมวง ไปขึ้นกับตำบลเขาย่า

วันที่ 10 สิงหาคม 2473 โอนพื้นที่บางส่วนของหมู่ 7 บ้านท่านาว ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน ไปขึ้นกับตำบลมะกอกใต้ อำเภอคูหาสวรรค์ (อำเภอเมืองพัทลุงในปัจจุบัน)

วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพัทลุง และจังหวัดตรัง โดยโอนพื้นที่ตำบลพื้นที่หมู่ 6,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลเกาะเต่า อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ไปขึ้นกับตำบลท่างิ้ว อำเภอเขาขาว (อำเภอห้วยยอด) จังหวัดตรัง

29 กรกฎาคม 2490 ตั้งตำบลดอนทราย แยกออกจากตำบลชะมวง ตั้งตำบลเขาย่า แยกออกจากตำบลชะมวง และตำบลเขาปู่ ตั้งตำบลเกาะเต่า แยกออกจากตำบลป่าพะยอม ตั้งตำบลตะแพน แยกออกจากตำบลนาขยาด ตั้งตำบลโตนดด้วน แยกออกจากตำบลมะกอกเหนือ และตำบลควนขนุน

วันที่ 14 เมษายน 2496 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลปรางหมู่ อำเภอควนขนุน เป็น ตำบลพนมวังก์

วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลควนขนุน ในท้องที่บางส่วนของตำบลควนขนุน

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2501 ตั้งตำบลทะเลน้อย แยกออกจากตำบลพนางตุง

วันที่ 22 มิถุนายน 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลมะกอกเหนือ ในท้องที่บางส่วนของตำบลมะกอกเหนือ

วันที่ 11 กันยายน 2516 ตั้งตำบลแหลมโตนด แยกออกจากตำบลปันแต

วันที่ 6 ธันวาคม 2520 แยกพื้นที่ตำบลเขาย่า ตำบลเขาปู่ และตำบลตะแพน ของอำเภอควนขนุน ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอศรีบรรพต  และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอควนขนุน

วันที่ 21 เมษายน 2524 ตั้งตำบลบ้านพร้าว แยกออกจากตำบลป่าพะยอม

วันที่ 27 เมษายน 2525 ตั้งตำบลลานข่อย แยกออกจากตำบลเกาะเต่า

วันที่ 16 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลแพรกหา แยกออกจากตำบลพนมวังก์

วันที่ 27 ธันวาคม 2531 โอนพื้นที่หมู่ 6 บ้านธรรมเสถียร,บ้านใสตอ (ในขณะนั้น) ของตำบลทะเลน้อย ไปตั้งเป็นหมู่ 10 ของตำบลพนางตุง

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 แยกพื้นที่ตำบลป่าพะยอม ตำบลลานข่อย ตำบลเกาะเต่า และตำบลบ้านพร้าว ของอำเภอควนขนุน ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอป่าพะยอมและให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอควนขนุน

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอศรีบรรพต อำเภอควนขนุน เป็น อำเภอศรีบรรพต

วันที่ 8 สิงหาคม 2538 ยกฐานะกิ่งอำเภอป่าพะยอม อำเภอควนขนุน เป็น อำเภอป่าพะยอม

วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลควนขนุน และสุขาภิบาลมะกอกเหนือ เป็นเทศบาลตำบลควนขนุน และเทศบาลตำบลมะกอกเหนือ ตามลำดับ ด้วยผลของกฎหมาย

วันที่ 15 พฤษภาคม 2551 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวน ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลบ้านสวน

วันที่ 23 กรกฎาคม 2551 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพ้อ และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพ้อ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลหนองพ้อ

วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนาขยาด ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลนาขยาดและจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพนางตุง ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลพนางตุง

วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโตนดด้วน ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลโตนดด้วน

วันที่ 20 สิงหาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทะเลน้อย ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลทะเลน้อยและจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลดอนทราย

วันที่ 26 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหา ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลแพรกหาและจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมโตนด ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลแหลมโตนด

เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอควนขนุน

โนรายก ชูบัว-ศิลปินแห่งชาติ

ยก ชูบัวหรือโนรายก ชูบัว เป็นมโนราห์ที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งในภาคใต้ ท่านมีความสนใจในการรํามโนราห์มาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นเด็ก และได้รํามโนราห์เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๔ รวมเวลาที่ท่านรำมโนราห์นานกว่า ๕๐ ปี

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้มีจิตใจรักทางการรํามโนราห์อย่างแท้จริง ตลอดถึงเป็นมโนราห์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ชมสูงมากคนหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ท่านรำมโนราห์ ท่านได้สร้างชื่อเสียงไว้มากมาย อาทิ การรำมโนราห์ที่มหาวิทยาลัยปีนัง ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย การต้อนรับทูตวัฒนธรรม ๒๕ ประเทศ ที่กรุงเทพฯ การรําถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่เกาะอาดัง ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล การรําถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่าในรายก ชูบัว เป็นผู้มีวิญญาณศิลปินในการรำมโนราห์อย่างแท้จริง และเป็นผู้ที่มีอัจฉริยะในการรํามโนราห์มากคนหนึ่งในภาคใต้ นอกจากการรํามโนราห์ที่สําคัญ ๆ ดังกล่าวแล้ว ท่านยังเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแต่งบทกลอนโนราได้ดีอีก ซึ่งบทกลอนโนราที่ท่านใช้ขับร้องในการรํามโนราห์ส่วนมากจะเป็นบทกลอนที่ท่านแต่งขึ้นเอง ตลอดถึงท่านยังแต่งบทกลอนโนราให้ผู้อื่นขับร้องอีกด้วย ซึ่งบทกลอนโนราเหล่านี้ได้สะท้อนเป็นแนวคิดของในรายก ชูบัว ได้เป็นอย่างดี และขณะเดียวกันก็สะท้อนภาพทางสังคม


          โนรายก ชูบัว เกิดเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ ที่บ้านทะเลน้อยตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บิดาชื่อเลิศ เป็นชาวบ้านทะเลน้อย ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีอาชีพทํานา มารดาชื่อเลี่ยม เป็นชาวบ้านนาพรุ ตําบลเขาชัยสน อําเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง มีอาชีพทํานา หลังจากบิดาและมารดาได้แต่งงานกัน บิดามารดาของโนรายก ชูบัว ได้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านทะเลน้อย ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นบ้านของทางฝ่ายบิดา โดยอาศัยอยู่ร่วมกับปู่และย่า และบิดามารดาก็ยังคงประกอบอาชีพทำนา ในการที่โนรายก ชูบัว มีตาเป็นโนราที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งในสมัยนั้นชื่อ “โนราอ้น” หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันทั่วไปในนามของ “โนราถั่วเขียว” ซึ่งโนราถั่วเขียวคนนี้เป็นครูของโนราชื่อดังคนหนึ่งในอดีตคือท่านขุนอุปถัมภ์นรากร หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในนามของ “โนราทุ่มเทวา”  ซึ่งเรื่องนี้ท่านได้เล่าถึงโนราถั่วเขียวกับท่านขุนอุปถัมภ์นรากรไว้สรุปได้ว่าท่านขุนอุปถัมภ์นรากรเคยหัดรําโนรากับโนราถั่วเขียวมาก่อน ตั้งแต่ท่านขุนอุปถัมภ์นรากรยังเป็นเด็กเมื่อมีอายุได้ ประมาณ ๔ ปี ท่านมักจะได้ยินท่านขุนอุปถัมภ์นรากรเรียกโนราถั่วเขียวว่า “บ่าวอ้น” ซึ่งคําว่า “บ่าว” (พี่) นั้นชาวภาคใต้มักจะใช้เรียกกันระหว่างผู้ที่รู้จักคุ้นเคยสนิทสนมกันเป็นอย่างดีรวมถึงผู้ที่มีความเคารพนับถือกันหรือผู้ที่มีอายุมากกว่า


            โนรายก ชูบัว เป็นบุตรคนเดียวของบิดามารดา เมื่ออายุได้ ๓ ปี บิดามารดาได้แยกทางกัน บิดาไปแต่งงานกับภรรยาคนใหม่ชื่อนาถ และทั้งคู่ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่บ้านท่าช้าง ตําบลเขาชัยสน อําเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นบ้านของทางฝ่ายภรรยา และมีบุตรด้วยกันคนเดียวเป็นชายชื่อว่าไข่ดํา ต่อมาบิดาได้แต่งงานกับภรรยาคนใหม่อีกคนหนึ่งชื่อดํา ซึ่งทั้งคู่ได้อาศัยอยู่ที่บ้านท่าช้าง ตําบลเขาชัยสน อําเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และมีบุตรด้วยกัน ๓ คน ซึ่งมีชื่อเรียงตามลําดับจากคนแรกดังนี้ เปี๊ยก (หญิง) มาลี (หญิง) และมานะ (ชาย) โนรายก ชูบัว ได้กล่าวถึงการที่ท่านได้ชื่อว่า “ยก” นั้นก็เนื่องจากเมื่อตอนที่ท่านเกิดนั้นท่านเป็นเด็กที่มีสุขภาพไม่ค่อยจะดี บิดามารดาและญาติพี่น้องต่างก็คิดว่าท่านคงจะไม่รอดชีวิตอย่างแน่นอน ทุกคนต่างก็มีความไม่สบายใจเป็นอย่างมาก จึงได้นําท่านห่อด้วยผ้าขาวเพื่อจัดเตรียมจะนําไปฝังแล้ว เมื่อข่าวนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงตาอ้นหรือที่ชาวบ้านรู้จักกันทั่วไปในนามของ “ โนราถั่วเขียว ” ซึ่งเป็นโนราที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งในจังหวัด พัทลุงสมัยนั้น โนราถั่วเขียวจึงได้บนบานกับครูหมอตายายโนรา (เชื่อกันว่าเป็นวิญญาณของบรรพบุรุษซึ่งเป็นที่นับถือของโนรา) เพื่อขอให้หลานชายรอดชีวิต โดยได้บนบานไว้ว่า “ถ้ารอดชีวิตแล้วจะให้ออกพรานสักคน ” (คือจะให้แสดงโนราสืบทอดต่อไป) เพราะตนเองก็แก่มากแล้ว คงจะรําโนราไปได้อีกไม่นาน ดังนั้นเมื่อในรายก ชูบัว รอดชีวิต ในราถั่วเขียวจึงเชื่อว่าเป็นเพราะอํานาจของครูหมอตายายโนราได้ช่วยชีวิตไว้ ด้วยเหตุนี้เองโนราถั่วเขียวจึงให้ชื่อหลานชายว่า “ยก” ซึ่งหมายถึงการยกให้เป็นลูกของครูหมอตายายโนรา


        ชีวิตในวัยเด็กของโนรายก ชูบัว หลังจากที่บิดากับมารดาได้แยกทางกันแล้ว และบิดามีภรรยาใหม่และได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านของทางฝ่ายภรรยาใหม่ที่บ้านท่าช้าง ตําบลเขาชัยสน ภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง โนรายก ชูบัว กับแม่จึงได้อาศัยอยู่กับปู่และย่าที่บ้านทะเลน้อย บ้านพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง (ซึ่งเป็นบ้านที่บิดามารดาเคยอาศัยอยู่เดิม) และช่วยกันสอนหนังสือให้ในรายก ชูบัว อ่านออกเขียนได้ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน


           เมื่ออ่านออกเขียนได้แล้วในรายก ชูบัว จะต้องอ่านหนังสือวรรณคดีให้ปู่ฟังแทบทุกวัน ทำให้ในรายก ชูบัว อ่านหนังสือได้ดีขึ้นตามลําดับ จนกระทั่งมีอายุได้ ๘ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ปู่จึงได้พาโนรายก ชูบัว ไปเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดควนพนางตุง ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ทางโรงเรียนเห็นว่าโนรายก ชูบัว สามารถ อ่านเขียนได้เป็นอย่างดีมาก่อนแล้ว จึงให้เริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โนรายก ชูบัว เรียนหนังสือที่โรงเรียนนี้จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน โดยท่านได้เล่าถึงความสนใจในระหว่างที่ท่านกําลังเรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนนี้ซึ่งสรุปได้ว่า ในระหว่างที่ท่านกําลังเรียนหนังสืออยู่ในชั้นประถมศึกษานั้นท่านมีความสนใจในการเล่นลิเกป่ามาก (เนื่องจากบิดาเคยเล่นลิเกป่ามาก่อน) อีกทั้งชอบว่าบทกลอนและอ่านหนังสือวรรณคดีต่าง ๆ ก็เพราะท่านเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนและมีความสามารถในการเล่นลิเกป่านี้เอง ดังนั้นเมื่อทางโรงเรียนจัดให้มีงานต่าง ๆ ท่านมักจะได้รับการคัดเลือกให้แสดงลิเก และท่านมักจะแสดงเป็นตัวนางเงือกในเรื่องที่ลิเกใช้แสดง ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดว่าโนรายก ชูบัว เป็นผู้ที่มีใจรักทางการรําและการแสดงมาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นเด็ก

การทํางาน

           หลังจากที่โนรายก ชูบัว จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนวัดควนพนางตุง ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง แล้วในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ต่อมาครูทิม พุฒ ซึ่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดทะเลน้อย ตําบลทะเลน้อย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ได้มาติดต่อขอให้โนรายก ชูบัว ไปเป็นครูที่โรงเรียนวัดทะเลน้อย เนื่องจากขณะนั้นทาง โรงเรียนขาดอัตรากําลังครู โดยได้ตกลงว่าจะให้เงินเดือนท่านเดือนละ 4 บาท และได้ตกลงไว้อีกว่าหลังจากทํางานแล้ว ๓ เดือน ก็จะเพิ่มเงินเดือนให้อีกเดือนละ ๒ บาท รวมเป็น เงินเดือน ๆ ละ ๑๐ บาท แต่ท่านตอบปฏิเสธเนื่องจากขณะนั้นท่านได้ตัดสินใจที่จะไปรำมโนราห์อยู่กับคณะโนราเลื่อน พงศ์ชนะ ซึ่งญาติผู้ใหญ่ทางฝ่ายภรรยาซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกันกับบ้านของท่านเองคือที่บ้านทะเลน้อย ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

เมื่อโนรายก ชูบัว รำมโนราห์เสร็จแล้วท่านจะกลับไปพักอยู่ที่บ้านของท่าน เอง โดยท่านจะมีรายได้จากการรําโนราคืนละ ๑ บาท (เฉพาะคืนที่ว่าโนรา) ซึ่งเมื่อรวมรายได้ แล้วท่านจะมีรายได้ จากการร่าโนราเฉลี่ยเดือนละไม่ต่ำกว่า ๒๐ บาท อีกทั้งท่านเห็นว่าการรำมโนราห์อยู่กับคณะโนรา เลื่อน พงศ์ชนะ นั้นเท่ากับเป็นการฝึกความชํานาญและเพิ่มประสบการณ์ในการรำมโนราห์ให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทําให้ท่านได้แสดงออกในสิ่งที่ท่านชอบ และเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ท่านมีชื่อเสียงในการรำมโนราห์มากยิ่งขึ้น ทำให้ท่านรำมโนราห์อยู่ในคณะโนราเลื่อน พงศ์ชนะ มาเป็นเวลานาน จนกระทั่งท่านมีอายุได้ ๑๖ ปี (ปี พ.ศ. ๒๔๘๑)

เมื่อเห็นว่าตนเองมีความสามารถในการราโนราสูงพอ และสามารถเล่นเป็นตัวตลกอีกทั้งสามารถขับบทกลอนโนราได้เป็นอย่างดีแล้ว ท่านจึงได้ขอแยกตัวจากคณะโนราเลื่อน พงศ์ชนะ มาตั้งคณะโนราห์ของตนเองขึ้น โดยใช้ชื่อคณะมโนราห์โนราของตนว่า “โนรายก ทะเลน้อย” ซึ่งเป็นการนําเอาชื่อของตนเองและชื่อบ้านเกิดของท่านมารวมกันตั้งเป็นชื่อของคณะในรา หลังจากตั้งคณะมโนราห์ของตนเองแล้ว โนรายก ชูบัว ก็ได้รับงานแสดงโนราทั่วเกือบทุกจังหวัดในภาคใต้และในบางจังหวัดทางภาคกลาง โดยเฉพาะในช่วงนั้นท่านจะรับงานแสดงมโนราห์มากเป็นพิเศษในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา และพัทลุง ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่ท่านเคยไปแสดงโนราเป็นประจํา เมื่อครั้งอยู่กับคณะของโนราเลื่อน พงศ์ชนะ ท่านจึงมีความคุ้นชินกับเขตพื้นที่ดังกล่าว

อีกทั้งยังมีความสนิทสนมกับผู้ชมหลายคน โดยเฉพาะมีความสนิทสนมกับแม่ยกเป็นอย่างดี โดยท่านมักจะแสดงมโนราห์สลับเขตพื้นที่ คนละช่วงฤดูกันระหว่างในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและพังงาเขตหนึ่ง กับในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง อีกเชิดหนึ่ง เนื่องจากเมื่อทางเขตจังหวัดภูเก็ตและพังงาย่างเข้าฤดูฝน ทางเขตจังหวัดพัทลุงจะย่างเข้าฤดูร้อน และเมื่อทางเขตจังหวัดภูเก็ตและพังงาย่างเข้าฤดูร้อน ทางเขตจังหวัดพัทลุงจะย่างเข้าฤดูฝน รวมเวลาที่ท่านแสดงมโนราห์อยู่ในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา และพัทลุง เป็นเวลานานถึง ๔ ปี หลังจากนั้นท่านจึงเข้าได้พิธีครอบเทริด (หรือพิธีผูกผ้าใหญ่) โดยมีโนราวัน (เผ่า) โนราที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งในสมัยนั้น ซึ่งอยู่ที่บ้านหลวงครู ตําบลอินคีรี อําเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช

เป็นผู้ทําพิธีครอบเทริดให้ ซึ่งพิธีครอบเทริดนี้ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์และมีความสําคัญมากต่อผู้ที่มีอาชีพเป็นโนรา ซึ่งโนรายก ชูบัว ได้เล่าถึง การเข้าพิธีครอบเทริดของตนเองไว้สรุปได้ว่า เมื่อท่านได้รับงานแสดงมโนราห์ในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา และพัทลุง สลับกันคนละช่วงฤดูอยู่เป็นประจําซึ่งรวมเวลาได้ ๕ ปี ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เมื่อครั้งที่ท่านยกคณะโนรากลับจากแสดงในเขตจังหวัดภูเก็ตและพังงาจะไปแสดงที่จังหวัดพัทลุงนั้น ท่านได้มีโอกาสพบกับโนราวัน (เฒ่า) ซึ่งอยู่ที่บ้านหลวงครู ตําบลอินคีรี อําเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โนราวัน (เฒ่า) มีความสนิทสนมเป็นอย่างดีกับโนราเลื่อน พงศ์ชนะ

เนื่องจากเคยได้ประชันโนราด้วยกันหลายครั้ง เมื่อโนราวัน (เฒ่า) ยก คณะโนรามาแสดงที่บ้านทะเลน้อย ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็น เขตบ้านที่บ้านของโนรายก ชูบัว ตั้งอยู่ และท่านก็อยู่ที่บ้านนี้ทุกครั้ง เมื่อท่านยกคณะโนรากลับจังหวัดพัทลุง และเป็นเหตุบังเอิญที่คณะของโนราวัน (เฒ่า) ขาดคนรํามโนราห์ในขณะนั้น โนราวัน (เฒ่า) จึงได้สอบถามกับโนราเลื่อน พงศ์ชนะ ว่ามีใครที่มีความสามารถรําโนราได้ดีบ้าง เพื่อจะชักชวนให้ไปรํามโนราห์อยู่ในคณะโนราของตนเอง โนราเลื่อน จึงได้บอกกับโนราวัน (เผ่า) ว่ามีโนรายก ชูบัว แห่งบ้านทะเลน้อย ตําบลพนางตุง อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการรํามโนราห์ อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่น สนใจศึกษาหาความรู้ด้านมโนราห์เป็นอย่างยิ่ง ครั้นเมื่อโนราเลื่อนได้บอกกล่าวกับท่านถึงเรื่องที่ในราวัน (เฒ่า) ต้องการผู้ที่สามารถรํามโนราห์ได้ดี เพื่อให้ไปอยู่กับคณะของโนราวัน (เต่า) ท่านจึงได้ตอบตกลงที่จะไปฝึกหัดรําโนราอยู่กับโนราวัน (เฒ่า) และได้ฝึกรําโนรากับในราวัน (เฒ่า) อยู่เป็นเวลานาน โดยได้เน้นการฝึกรำทําบทอยู่เป็นเวลานานถึง ๓ เดือน จึงทําให้ท่านมีความชํานาญในการทําบทมโนราห์มากขึ้น จนสามารถทําเลียนแบบครูคือ ในราวัน (เฒ่า) ได้ดี เมื่อท่านเห็นว่าตนเองมีความสามารถรํามโนราห์ได้เป็นอย่างดี แล้วจึงได้คิดแปลงท่ารํามโนราห์ขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นท่ารํามโนราห์ที่เป็นแบบเฉพาะของตนเอง หลังจากนั้นในราวัน (เฒ่า) จึงได้ทําพิธีครอบเทริดให้กับโนรายก ชูบัว ซึ่งพิธีนี้ถือว่าเป็นพิธีที่มีความสําคัญและศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสําหรับผู้ที่จะเป็นนายโรงโนราหรือหัวหน้าคณะมโนราห์ต่อไป ซึ่งเรื่องนี้สาโรช นาคะวิโรจน์ อุดม หนูทอง โนราสวัสดิ์ ช่วยพูลชู อาจารย์ สอนนาฏศิลปะพื้นเมือง (โนรา) ที่วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช (เป็นหลานชายของขุนอุปถัมภ์นรากร) ได้กล่าวถึงพิธีครอบเทริดไว้สอดคล้องกันซึ่งสรุปได้ว่าพิธีครอบเทริดเป็นพิธีที่ครูโนราได้กระทําขึ้นเพื่อรับรองความรู้ความสามารถและความเป็นที่ สมบูรณ์ของศิษย์ โดยการครอบเทริดให้

ซึ่งถือเสมือนว่าศิษย์ผู้นั้นได้รับประกาศนียบัตรที่ ประกาศความเป็นมโนราห์โดยสมบูรณ์ตามแบบที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มโนราห์ที่ผ่านพิธีครอบเทริดแล้ว สามารถที่จะประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของโนราได้อย่างสมบูรณ์ มโนราห์แต่ละคนจะเข้าพิธีครอบเทริดได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต ซึ่งจะแตกต่างกับโขนหรือละครที่มักจะจัดให้มีพิธีเช่นนี้ทุกปี โนราที่มีความรู้ความสามารถในการรํามโนราห์ได้ดีเพียงใดก็ตาม หากไม่ได้ผ่านพิธีครอบเทริดถือว่าเป็นโนราที่ไม่สมบูรณ์ เรียกกันว่าเป็น “โนราดิบ“ ไม่สามารถที่จะประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมโนราห์ได้ และถ้าหากไม่ได้เข้าพิธีครอบเทริดโดยที่มโนราห์คนนั้นแต่งงานเสียก่อน ก็จะเรียกกันว่าเป็น “โนราปราชิก“ พิธีครอบเทริดจึงถือได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์และ สําคัญยิ่งในชีวิตของผู้ที่เป็นโนรา เมื่อครั้งที่โนรายก ชูบัว ตั้งคณะโนราของตนเองใหม่ ๆ นั้น มีนายแบน ชูบัว ซึ่งเป็นลุงของท่านและเป็นผู้ที่มีจิตใจรักทางด้านการแสดงพื้นบ้าน เป็นผู้ให้การสนับสนุนด้วยดี และรับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมคณะโนรายก ทะเลน้อย ไม่ว่าคณะโนรายก ทะเลน้อย

จะไปแสดงที่ไหนนายแบนจะต้องเป็นธุระจัดการในเรื่องต่าง ๆ ให้ เช่น เกี่ยวกับเครื่องดนตรี เครื่องแต่งตัว การแต่งตัว เป็นต้น และที่สําคัญอีกอย่างหนึ่งคือนายแบนเป็นผู้ที่มีความสามารถตีทับ ซึ่งเป็นดนตรีประกอบการแสดงโนราได้เป็นอย่างดี ดังนั้นนายแบน จึงทําหน้าที่เป็นคนตีทับของคณะโนรายก ทะเลน้อย ด้วย


        เมื่อโนรายก ชูบัว มีอายุได้ ๒๑ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ท่านได้รับการคัดเลือกด้วยวิธีการจับฉลากเข้ารับราชการเป็นพลตํารวจ ณ สถานีตํารวจภูธรอําเภอเมืองพัทลุง ตําบลคูหาสวรรค์ อําเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๑๑ บาท ๒ สลึง ในระหว่างที่รับราชการตํารวจอยู่นั้น โนรายก ชูบัว ก็ยังคงแสดงโนราควบคู่ไปด้วย ซึ่งโนรายก ซูบัว ได้เล่าถึงการแสดงโนราในระหว่างที่ท่านรับราชการตํารวจอยู่สรุปได้ว่า ครั้งหนึ่งทางจังหวัดพัทลุงได้จัดให้มีการประชันโนราที่วัดโคกชะงาย ตําบลโคกชะงาย อําเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ในครั้งนั้นมีโนราคณะต่าง ๆ มากมาย มาร่วมประชันกัน คณะโนรายก ทะเลน้อย ได้เข้าร่วมประชันในครั้งนั้นด้วย และเป็นเหตุบังเอิญที่จ่ากอง (หัวหน้าตํารวจซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโนรายก ชูบัว โดยตรง)

ได้เห็นรายชื่อของคณะโนราที่เข้าประชันในครั้งนั้นว่า มีชื่อของคณะโนรายก ทะเลน้อย รวมอยู่ด้วย จ่ากองจึงไม่อนุญาตให้ในรายก ชูบัว เข้า ร่วมประชันโนราในครั้งนั้น เนื่องจากจ่ากองได้ให้โนรายก ชูบัว และพลตํารวจที่เป็นเพื่อนกับท่านอีกประมาณ ๓-๔ คน ไปมุงหลังคาอาคารที่อยู่ในบริเวณสถานีตํารวจภูธรอําเภอเมืองพัทลุง ตําบลคูหาสวรรค์ อําเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โนรายก ชูบัว ได้แจ้งกับจากองว่าท่านไม่มีความสามารถมุงหลังคาอาคารได้ จ่ากองจึงได้ลงโทษโนรายก ชูบัว โดยการแต่งตั้งให้ท่านมีหน้าที่เฝ้าเวรยามที่สถานีตํารวจภูธรอําเภอเมืองพัทลุง ตําบลคูหาสวรรค์ อําเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ในคืนที่มีการประชันมโนราห์กันนั้น โนรายก ชูบัว จึงได้ให้โนราลั่น เพชรสุข หรือที่ชาวจังหวัดพัทลุงรู้จักกันดีในนามของ “โนราลั่น ทะเลน้อย ” เข้าประชันโนรา ในนามของคณะโนรายก ทะเลน้อย แทนตน เมื่อถึงคืนที่มีการประชันโนรานั้น โนรายก ชูบัว ได้ฝากให้เพื่อนอยู่เวรยามแทน ส่วนตัวท่านเองต้องรีบไปงานประชันมโนราห์ให้ทันเนื่องจากได้ บอกรับงานการแสดงมโนราห์ไว้แล้ว แต่เมื่อท่านไปถึงสถานที่ที่ประชันโนรานั้นก็เป็นช่วงสุดท้ายของการประชันมโนราห์แล้ว ท่านจึงไปไม่ทันในช่วงรํามโนราห์ แต่ท่านก็ได้ออกตัวพรานทันเวลาพอดี ซึ่งการออกพรานของท่านในครั้งนั้นเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ชมเป็นอย่างมาก ผลการประชันโนรา ในคืนนั้นปรากฏว่าคณะมโนราห์ของโนรายก ชูบัว ได้รับชัยชนะจากผู้ชมอย่างท่วมท้น


          เมื่อโนรายก ชูบัว มีอายุได้ ๒๔ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านได้ลาออกจากการรับราชการตํารวจ แล้วกลับมาอยู่ร่วมกับภรรยาที่บ้านโคกคราม ตําบลบ้านใหม่ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยท่านยึดอาชีพการแสดงโนราเป็นหลัก รวมถึงแสดงลิเกป่าและแสดงลิเกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ท่านได้เล่าถึงการแสดงลิเกของตนเองไว้สรุปได้ว่าการที่ท่านมีความสามารถในการแสดงลิเกนั้น เนื่องจากท่านได้เคยแสดงลิเกอยู่กับคณะลิเกแก้วราหู ซึ่งเป็นคณะลิเกที่มีชื่อเสียงมากคณะหนึ่งในเขตอําเภอระโนด จังหวัดสงขลา ในสมัยนั้น เมื่อท่านสามารถแสดงลิเกได้แล้ว ในบางครั้งท่านจะมีการเปลี่ยนการแสดงกับคณะลิเกแก้วราหู คือให้คณะลิเกแก้วราหูแสดงมโนราห์ ส่วนตัวท่านเองได้ไปแสดงลิเกแทน จึงทําให้ท่านมีประสบการณ์ ในการร่ายรํามากยิ่งขึ้น แต่ท่านจะเน้นไปในการแสดงมโนราห์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งท่านได้เล่าเกี่ยวกับการแสดงโนราไว้ว่าครั้งหนึ่งใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ คณะกรรมการวัดจะทิ้งพระ ตําบลจะทิ้งพระ อําเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ได้จัดงานประจําปีขึ้น ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นทุก ๆ ปี โดยมี โนราคณะต่าง ๆ เข้าร่วมประชันกันปีละ ๓-๔ คณะ ในปีนั้นทางคณะกรรมการวัดได้ติดต่อขอให้คณะของโนรายก ทะเลน้อย ไปประชันมโนราห์กับโนราเทพ (สองกุก) ซึ่งเป็นคณะโนราที่มี ชื่อเสียงมากของจังหวัดนครศรีธรรมราชในสมัยนั้น ปรากฏว่าในการประชันโนรากันในปีนั้น คณะโนรายก ทะเลน้อย เป็นฝ่ายชนะ ทางคณะกรรมการวัดได้มีสัญญาไว้ว่าถ้ามโนราห์คณะใดชนะ ก็จะรับให้เข้าร่วมประชันมโนราห์อีกในปีต่อไป ดังนั้นในปีต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๐ โนรายก ชูบัว จึงได้นําคณะมโนราห์เข้าร่วมประชันมโนราห์อีก ผลปรากฏว่าคณะของโนรายก ชูบัว ได้รับชัยชนะอีก และสามารถชนะในการประชันมโนราห์ในงานนี้ติดต่อกันมาถึง ๑๒ ปี ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดว่าโนรายก ชูบัว เป็นผู้ที่มีความสามารถในการรํามโนราห์เป็นอย่างดี จนมีชื่อเสียงและได้รับความ นิยมจากผู้ชมทั่วไปมาก

อุปสมบท

         เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งขณะนั้นโนรายก ชูบัว มีอายุได้ ๒๐ ปี ได้เข้าอุปสมบทตามประเพณีของผู้ชายไทยทั่วไป ณ วัดควนปันนแต ตําบลควนปันนแต อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยมีพ่อท่านแก้ว วัดควนปันนแต เป็นพระอุปัชฌาย์ พ่อท่านคล้าย วัดสนทรา ตําบลทะเลน้อย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และพ่อท่านนวล วัดประดู่หอม (บน) ตําบลทะเลน้อย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบท แล้วได้รับฉายาว่า “ธมฺมทินโน” โดยไปจําพรรษาอยู่ที่วัดทะเลน้อย ตําบลทะเลน้อย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นเวลา ๑ พรรษา

โนรายก ชูบัว อุปสมบทอยู่เป็นเวลา ๑ พรรษา จึงลาสิกขาออกมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ หลังจากลาสิกขาแล้วท่านได้เดินทางไปเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ต ท่านได้เล่าถึงสาเหตุที่ท่านได้กลับไปภูเก็ตเนื่องจากท่านมีความคุ้นเคยกับเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นอย่างดียิ่ง ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ท่านแสดงมโนราห์กับคณะของโนราเลื่อน พงศ์ชนะ อีกทั้งท่านยังมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับบรรดาแม่ยกมโนราห์อีก ด้วย และหลังจากที่ท่านได้กลับจากจังหวัดภูเก็ตแล้วท่านก็ได้เข้ารับราชการตํารวจที่สถานีตํารวจภูธรอําเภอเมืองพัทลุง ตําบลคูหาสวรรค์ อําเภอเมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


         เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งขณะรับราชการตํารวจอยู่นั้นท่านได้แต่งงานกับนางสาวกล่ำ พงศ์ชนะ (หลานสาวของโนราเลื่อน พงศ์ชนะ) ชาวบ้านโคกคราม ตําบลบ้านใหม่ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา หลังจากแต่งงานแล้วท่านได้ย้ายกลับมาอยู่ร่วมกับภรรยาที่บ้านโคกคราม ตําบลบ้านใหม่ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา และอยู่ที่นี่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ท่านกับภรรยาก็ไม่มีบุตรด้วยกัน

จึงได้ขอเด็กผู้หญิงคนหนึ่งมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมและตั้งชื่อให้ว่าโนรี ซึ่งเรื่องนี้โนรายก ชูบัว ได้เล่าไว้ว่าหลังจากแต่งงานแล้วท่านกับภรรยาไม่มีบุตรด้วยกัน จนกระทั่งท่านมีอายุได้ ๒๕ ปี ซึ่งขณะนั้นยังคงนําคณะมโนราห์ไปแสดงยังที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ ครั้นเมื่อกลับมาบ้านที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา

วันหนึ่งท่านไปซื้อปลาที่ตลาดบ้านปากแตระ ตําบลปากแตระ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้พบกับมารดาของเด็กหญิงคนหนึ่ง ซึ่งผู้เป็นมารดามีรูปร่างผอมมากจนดูเหมือนจะไม่สามารถให้นมกับลูกของตนได้ และเป็นผู้มีฐานะยากจน บ้านที่มารดาของเด็กหญิงคนนั้นอาศัยอยู่ก็อยู่ในละแวกนั้น ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านของพวกคอนชุมโนรา (พวกหาบที่เก็บเครื่องแต่งกายของโนรา) พวกคอนชุมโนราจึงมักจะแวะพักผ่อนก่อนที่จะเดินทางต่อเพื่อไปแสดงโนรายังสถานที่ต่าง ๆ ผู้คนจึงมักได้เห็นเด็กหญิงคนนั้นซึ่งเป็นเด็กที่มีหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู ผิวขาว รูปร่างอ้วนสมบูรณ์แข็งแรง ยังนอนแบเบาะอยู่ บางคนเคยมาขอเด็กหญิงคนนั้นไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม แต่มารดาก็ได้ตอบปฏิเสธกับทุกคน

เนื่องจากตนเองรักและเป็นห่วงลูกมาก วันหนึ่งเมื่อโนรายก ชูบัว ไปที่ตลาดบ้านปากแตระ ได้มีคนเข้ามาบอกกับท่านว่ามารดาของเด็กหญิงคนนั้นจะยกลูกให้เป็นบุตรบุญธรรมของท่าน แต่โนรายก ชูบัว ก็ได้ตอบไปว่าตนเองต้องไปปรึกษากับภรรยาก่อน เนื่องจากท่านต้องนําคณะโนราไปแสดงยังสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ และการไปแต่ละครั้งก็เป็นเวลานาน ครั้งหนึ่ง ๆ ประมาณ ๓-๔ เดือน จึงจะกลับมาบ้านครั้งหนึ่ง จึงทําให้ท่านกังวลไปว่าท่านอาจไม่มีเวลาพอที่จะเลี้ยงดูเด็กหญิงคนนั้นได้ดีและจะกลับเป็นภาระหน้าที่ของภรรยา ครั้นเมื่อท่านได้สอบถามภรรยาของท่านแล้วภรรยาของท่านก็ตกลงยินดี มารดาของเด็กหญิงคนนั้นจึงได้นําเด็กหญิงคนนั้นมามอบให้ท่านเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งในเวลาต่อมาโนรายก ซูบัว ได้ตั้งชื่อให้เด็กหญิงคน นั้นว่า “โนรี ” ซึ่งท่านได้ให้เหตุผลที่ตั้งชื่อบุตรบุญธรรมว่าโนรี ไว้ว่า

เมื่อท่านรับเด็กหญิงคนนั้นมาเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเด็กหญิงคนนี้ไม่มีชื่อมาก่อน แต่เมื่อท่านได้เห็นหน้าตาที่น่าเอ็นดู ผิวขาว รูปร่างอ้วนสมบูรณ์ จึงตั้งชื่อให้เด็กหญิงคนนั้นว่า “โนรี ” โดยมีความคิดว่าเนื่องจากท่านเป็นโนราที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป จึงควรจะตั้งชื่อบุตรบุญธรรมให้สอดคล้องโนรา จึงตั้งชื่อให้ว่า “ โนรี ” ซึ่งเป็นชื่อที่ท่านมุ่งหมายถึง “โนราผู้หญิง” นั่นเอง ครั้นเมื่อเด็กหญิงโนรีเริ่มเดินได้ ท่านก็เริ่มฝึกการรำมโนราห์ให้กับเด็กหญิงโนรี และได้ฝึกการรํามโนราห์เรื่อยมา จนกระทั่งเด็กหญิงโนรีรํามโนราห์ได้ เมื่อโนรายก ชูบัว เดินทางไปแสดงโนราที่ไหนก็มักจะพาเด็กหญิงโนรีไปด้วย โดยส่วนใหญ่จะให้เด็กหญิงโนรีได้ออกรํามโนราห์ในช่วงท้ายก่อนที่จะปิดการแสดง และทุกครั้งที่เด็กหญิงโนราออกรำ จะเป็นที่ชอบใจของผู้ชมเป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โนรีมีอายุ ๔๕ ปี แต่งงานกับนายคน ทิพย์สาลี แล้วใช้นามสกุลของสามีคือทิพย์สาลี นางโนรีเลิกรำมโนราห์แล้ว โดยได้ไปประกอบอาชีพธุรกิจอยู่กับสามีที่อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
            บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่  ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

โนรายก ชูบัว เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปว่าเป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น มีจิตใจหนักแน่น พูดจาสุภาพเรียบร้อยและมักจะสอดแทรกคติธรรมให้แก่ผู้ร่วมสนทนากับท่าน ท่านไม่เป็นคนเจ้าชู้ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานสูง เป็นคนตรงต่อเวลา และเมื่อท่านมีความรู้เรื่องใดแล้วท่านมักจะไม่แสดงตนในลักษณะอวดรู้ และก็ไม่ปิดบังความรู้ มีความคิด สร้างสรรค์ มีเทคนิคในการถ่ายทอดหรือการสื่อสารโดยทําเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายต่อการเข้าใจ นอกจากนั้นแล้วท่านยังเป็นผู้ที่ชอบช่วยเหลือเพื่อนบ้าน และสังคมอย่างสม่ำเสมอไม่ถือตัว บุคลิกภาพที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของท่านคือท่านจะไม่เคยแสดงอาการโกรธหรือดุด่าว่ากล่าวให้ร้ายต่อผู้อื่น

มรณกรรม

           ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โนรายก ชูบัว ได้ล้มป่วยและได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลระโนด และโรงพยาบาลสงขลา เมื่อมีอาการดีขึ้นจึงได้เดินทางกลับบ้าน ต่อมาได้มีอาการแน่นหน้าอก หายใจติดขัด ทางบ้านจึงได้นําตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลระโนดอีกครั้ง แต่อาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ท่านเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นเวลา ๒ อาทิตย์ แพทย์เห็นว่าอาการป่วยได้ทุเลาลงจึงอนุญาตให้กลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน แต่เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๒๑.๓๐ น. โนรายก ชูบัว ก็ได้ถึงแก่กรรม ณ บ้านเลขที่ ๓๔๓ หมู่ที่ ๔ อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา สิริรวมอายุได้ ๘๓ ปี ๑๐ เดือน

ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
            บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่  ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

ผลงานสำคัญ

          โนรายก ชูบัว เป็นผู้ที่มีผลงานด้านการแสดงโนราที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ โนรายก ชูบัว ไปทําสวนอยู่ที่ตําบลควนกาหลง อําเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล และเป็นช่วงเดียวกันกับที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จไปที่เกาะอาดัง ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นายอําเภอควนกาหลงได้ไปเชิญโนนรายก ชูบัว เพื่อให้รำถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี การรําโนราหน้าพระที่นั่งในครั้งนั้นโนรายก ชูบัว ได้รําโนราโดยใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที และสมเด็จพระบรมราชชนนี ได้พระราชทานเข็มที่ระลึกซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติในชีวิตที่ได้มีโอกาสรําโนราหน้าพระที่นั่งโนรายก ซูบัว ได้แสดงโนรามาเกือบตลอดชีวิต จนถือได้ว่าท่านเป็นโนราชั้นครูคนหนึ่ง ต่อมาเมื่อมีอายุมากขึ้นได้รับเชิญเป็นวิทยากรสอนศิษย์ตามสถานศึกษาต่าง ๆ แต่ท่านก็ยังคงรักการรําโนราอยู่เป็นชีวิตจิตใจแม้ว่าจะไม่รําโนราแสดงเป็นเรื่องเป็นราว แต่ท่านก็เต็มใจอย่างยิ่งที่จะรำโนราสาธิตให้คนทั่วไปได้เห็นถึงการรําโนราที่ถูกต้องตามแบบดั้งเดิมของชาวภาคใต้ 

ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
            บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่  ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

          โนรายก ชูบัว เป็นผู้มีอัจฉริยะในการรํามโนราห์อย่างแท้จริง ท่านได้ใช้ชีวิตการเป็นศิลปินอยู่ในแวดวงของการแสดงมโนราห์มาเป็นเวลานานกว่า ๕๐ ปี ทําให้ท่านได้สั่งสมประสบการณ์ด้านการแสดงมโนราห์ไว้มากมาย มีลูกศิษย์และเพื่อนร่วมงานตลอดจนบุคคลทั่วไปที่ท่านรู้จักมากมาย อีกทั้งท่านยังได้สร้างผลงานด้านการแสดงโนราไว้มากมาย จนทําให้ท่านได้รับรางวัลต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก ซึ่งผลงานและรางวัลที่ท่านได้รับดังกล่าวถือเป็นเกียรติยศที่ทําให้โนรายก ชูบัว ได้รับการเชิดชูเกียรติจากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ซึ่งเป็นศิลปินด้านมโนราห์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป จนทําให้ท่านมีความประทับใจในการแสดงมโนราห์ครั้งสําคัญ ๆ มากมายหลายครั้งรวมทั้งรางวัลต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้

– พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าต้อนรับทูตวัฒนธรรม ๒๕ ประเทศ ที่กรุงเทพฯ
– พ.ศ. ๒๕๑๓ โนรายก ชูบัว ไปทำสวนอยู่ที่ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล และเป็นช่วงเดียวกันกับที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จไปที่เกาะอาดัง ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นายอำเภอควนกาหลงได้ไปเชิญโนรายก ชูบัว เพื่อให้รำถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี การรำโนราหน้าพระที่นั่งในครั้งนั้น โนรายก ชูบัว ได้รำโนราโดยใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที และสมเด็จพระบรมราชชนนีได้พระราชทานเข็มที่ระลึก ซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติในชีวิตที่ได้มีโอกาสรำมโนราห์หน้าพระที่นั่ง
 – พ.ศ. ๒๕๑๘ รําถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่เกาะอาดัง ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ซึ่งการรำในครั้งนั้นโนรายก ขบัว ได้รับพระราชทานเข็มที่ระลึกจากสมเด็จพระบรมราชชนนี
– พ.ศ. ๒๕๑๘ เผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๕ โดยมีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ดําเนินรายการ ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษ โดยโนรายก ชูบัว ได้รับเชิญจากกรมศิลปากร ให้ไปรําโนรา ณ โรงละครแห่งชาติ พร้อมกับขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราทุ่ม เทวา) ในการทําครั้งนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ได้ประทานเทริดให้ ๑ ยอด ให้โนรายก ชูบัว
– พ.ศ. ๒๕๒๐ รำเผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๑๐ หาดใหญ่ สงขลา (สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง ๑๑ สงขลา)
– พ.ศ. ๒๕๒๒ รำในงานประชุมต้อนรับอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วโลก ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมเอเซียพัทยา จังหวัดชลบุรี
– พ.ศ. ๒๕๒๓ เผยแพร่ ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (ผ่านฟ้า ๒) จํานวน ๒ ครั้ง
– พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับเชิญจากสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พร้อมด้วยโนราอีก ๗ คณะ ไปรําในงาน “มหกรรมโนรา” ที่โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ
– พ.ศ. ๒๕๓๑ รําถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์ วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ
– พ.ศ. ๒๕๓๙ รำในงานกาญจนาภิเษก ณ ท้องสนามหลวง และที่ถนนราชดําเนินนอก


ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
            บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่  ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

   เกียรติคุณที่ได้รับ
  
        จากการรํามโนราห์ครั้งสําคัญ ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โนรายก ชูบัว ยังมีรางวัลและเกียรติยศอีกมากมาย ดังนี้

– พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับผ้ามนโนราสีสวยสด จาก พ.ต.อ. ขุนพันธรักษ์ราชเดช
– พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้รับขันเงินจากพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ ในการฉลองพระไตรปิฎกวัดหาดใหญ่ใน อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
– พ.ศ. ๒๕๐๓ รำต้อนรับทูตวัฒนธรรม ๒๕ ประเทศ ที่กรุงเทพ ฯ
– พ.ศ. ๒๕๑๘ รําถวายสมเด็จพระบรมราชชนนี ที่เกาะอาดัง ตําบลเกาะสาหร่าย อําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ซึ่งการรําถวายในครั้งนี้ ในรายก ชูบัว ได้รับพระราชทานเข็มที่ระลึกจากสมเด็จพระบรมราชชนนี
– พ.ศ. ๒๕๑๘ รำเผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๕ โดยมีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ดําเนินรายการ ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษโดยโนรายก ชูบัว ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรให้ไปรําโนรา ณ โรงละครแห่งชาติ พร้อมกับขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราพุ่ม เทวา) ในการรำครั้งนั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ได้ประทานเทริดให้ ๑ ยอด
– พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับเกียรติบัตรจากกรมศิลปากร ในฐานะที่เป็นผู้ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการในด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างดียิ่ง ยังผลให้กรมศิลปากรสําเร็จสมความมุ่งหมายในการทํานุบํารุงด้านศิลปวัฒนธรรม
– พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับโล่เกียรติยศจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะที่เป็นผู้อุทิศตนบําเพ็ญประโยชน์อย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยการริเริ่มวางพื้นฐานและฝึกสอนโนราให้แก่ข้าราชการและนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
– พ.ศ. ๒๕๒๐ รำเผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๑๐ หาดใหญ่ สงขลา
– พ.ศ. ๒๕๒๒ รำในงานประชุมต้อนรับอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วโลก ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมเอเชีย พัทยา จังหวัดชลบุรี
– พ.ศ. ๒๕๒๓ รำเผยแพร่ ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (ผ่านฟ้า ๒) จํานวน ๒ ครั้ง
– พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับเชิญจากสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรม พร้อมด้วยในราอีก ๗ คณะ ไปรำในงานมหกรรมโนรา ที่โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ
– พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับการยกย่องจากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นศิลปินพื้นบ้านดีเด่นสาขามโนราห์
– พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับโล่ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นสาขามโนราห์ ที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) เป็นผู้ประกาศ โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
– พ.ศ. ๒๕๓o ได้รับการยกย่องจากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติประวัติที่สําคัญยิ่งในชีวิตของท่าน
– พ.ศ. ๒๕๓๑ รําถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ
– พ.ศ. ๒๕๓๙ รำในงานกาญจนาภิเษก ณ ท้องสนามหลวงและที่ถนนราชดําเนิน กรุงเทพฯ

             โนรายก ชูบัว เป็นมโนราห?ที่มีความรู้ความสามารถในการร่าโนราเป็นอย่างดียิ่ง ผลงานด้านโนราของท่านเป็นที่ประจักษ์และยอมรับของคนทั่วไป ทั้งที่เป็นการแสดงโนรา การถ่ายทอด ศิลปะการแสดงโนราให้แก่ศิษย์ และการประพันธ์วรรณกรรมเพื่อการแสดงโนรา จนทําให้ท่านเป็นมโนราห์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของภาคใต้และท่านได้รับเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติประวัติที่สําคัญยิ่งในชีวิตของท่าน ปัจจุบันในรายก บ้า อยู่ที่ ตําบลระโนด อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา ท่านยังคงรับแสดงโนราอยู่ แต่เนื่องจากท่านเป็น โนราชั้นครูจึงมักจะได้รับเชิญให้แสดงเป็นการสาธิตและแสดงแก้บนเป็นส่วนใหญ่


ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
            บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่  ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
            บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่  ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

ภาพจาก : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายยก ชูบัว จ.ม. สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ณ ฌาปนสถานวัดราษฎร์
            บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา วันพฤหัสบดีที่  ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙


ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อ/สถานที่/เรื่อง บุคคลสำคัญ ที่อยู่ จังหวัด สงขลา
ที่มา : ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นางเลือดขาว ตำนานท้องถิ่นชาวใต้

“พระนางเลือดขาว” คาดว่าน่าจะเป็นคนละตำนานกับ “พระนางเลือดขาว มัสสุหรีแห่งลังกาวี” และ “พระนางเลือดขาว เจ้าอยู่หัว” โดยหลายๆ คน ยังมีความเชื่อว่าตำนานทั้งสามเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งมีนักเขียนท่านหนึ่งได้ออกมาแยกความแตกต่าง ระหว่าง “พระนางเลือดขาว พัทลุง” “พระนางเลือดขาว แม่เจ้าอยู่หัว” และ “พระนางเลือดขาว มัสสุหรี” เอาไว้ดังนี้

ผู้เขียนขอเล่าตำนานที่เกิดขึ้นบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา “ตำนานนางเลือดขาว” ปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ตำนานดังกล่าวได้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง ทั้งในภาคใต้จรดแหลมมลายู แต่ละพื้นที่ก็เล่าเหมือนบ้างแตกต่างบ้าง โดยในภาคใต้ มีทั้งจังหวัดพัทลุง สงขลา ชุมพร นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตรัง เล่าต่อๆกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นตำนานประจำท้องถิ่นไปแล้ว ตำนานนางเลือดขาวที่แพร่หลายในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้นั้น  มีปรากฏที่มาจากสองทางด้วยกัน คือ

1. ตำนานนางเลือดขาวตามที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองพัทลุง

“ตำนานนางเลือดขาว” ตามที่ได้ปรากฏในพงศาวดารเมืองพัทลุง ซึ่งหลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์) เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2460 – 2461 นั้นสรุปความได้ว่า เมืองพัทลุงได้ตั้งมาก่อนปี พ.ศ.1480 เมืองตั้งอยู่ที่สทิงพระ เจ้าเมืองชื่อพระยากรงทอง ครั้งนั้นตาสามโมกับยายเพชรสองสามีภรรยา ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลปละท่า ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา โดยตาสามโมเป็นหมอสดำ (หมอเฒ่าหรือนายกองช้าง)  มีหน้าที่เลี้ยงช้างส่งพระยากรงทองทุกปี

ต่อมา…สองตายายได้พบกุมารจากป่าไม้ไผ่เสรียง และได้พบกุมารีจากไม้ไผ่มีพรรณเลือดขาว จึงได้ชื่อว่า “นางเลือดขาว” ต่อมาทั้งกุมารและกุมารีได้แต่งงานกัน และรับมรดกเป็นนายกองช้าง จนมีกำลังขึ้นและมีผู้คนนับถือมาก ได้เรียกตำบลบ้านนั้นว่า “พระเกิด” ต่อมาทั้งสองคนได้พาสมัครพวกพวก เดินทางไปทางทิศอีสาน จากบ้านพระเกิดไปถึงบางแก้ว เห็นเป็นชัยภูมิดีก็ตั้งพักอยู่แต่นั้นมา ชาวบ้านต่างก็เรียกกุมารนั้นว่า “พระยากุมาร” โดยพระยากุมารมีอำนาจทรัพย์สมบัติและบริวารมากขึ้น ทั้งสองคนเป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงได้สร้างพระพุทธรูป และอุโบสถขึ้นไว้ที่ “วัดสทิง” อำเภอเขาชัยสน สร้างถาวรวัตถุไว้ที่ “วัดเขียนบางแก้ว” คือวิหารและพระพุทธรูป พร้อมทั้งทำจารึกไว้ในแผ่นทองคำด้วย

ตั้งแต่ พ.ศ.1500 พระยากุมารกับนางเลือดขาว ยังคงพำนักอยู่ที่บางแก้ว ต่อมาทั้งสองคนได้เดินทางไปที่เมืองนครศรีธรรมราช และสร้างพระพุทธรูปไว้หลายตำบล นับแต่นั้นมาเกียรติคุณนางเลือดขาวก็รำลือไปถึงกรุงสุโขทัย “พระเจ้ากรุงสุโขทัย” โปรดให้พระยาพิษณุโลกกับนางทองจันทร์ พร้อมนางสนมออกมารับนางเลือดขาวที่เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อเชิญไปเป็นมเหสี ส่วนพระยากุมารก็กลับไปอยู่ที่บ้านพระเกิดตามเดิม พระเจ้ากรุงสุโขทัย เมื่อทรงทราบว่านางมีสามี และมีครรภ์ติดมา จึงไม่คิดยกขึ้นเป็นมเหสี ครั้นนางคลอดบุตรเป็นกุมาร พระเจ้ากรุงสุโขทัยก็ทรงขอบุตรไว้ชุบเลี้ยง ต่อมานางเลือดขาวได้ทูลลากลับบ้านเดิม พระองค์จึงโปรดให้จัดส่งถึงบ้านพระเกิด อยู่กินกับพระยากุมารตามเดิมจนถึงแก่กรรมทั้งสองคน ภายหลังบุตรนางเลือดขาวได้กลับมาเป็นคหบดี อยู่ที่บ้านพระเกิด เมืองพัทลุง ชาวเมืองเรียกว่า “เจ้าฟ้าคอลาย” (คอลาย = ลวดลายสักศิลปะภาคเหนือที่ปรากฏอยู่บนตัวเจ้าฟ้าคอลาย)

2. ตำนานนางเลือดขาวที่เป็นคำบอกเล่าของชาวบ้าน

สำหรับเรื่องราวจากชาวบ้านเกี่ยวกับ “ตำนานนางเลือดขาว” ได้กล่าวถึงสงครามในประเทศอินเดีย สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทำให้ชาวอินเดียอพยพหนีภัยมาขึ้นฝั่งทางด้านตะวันตกของแหลมมลายู บริเวณเมืองท่าปะเหลียน จังหวัดตรัง แล้วข้ามแหลมมายัง อำเภอตะโหมดและอำเภอปากพะยูนของจังหวัดพัทลุง ขณะนั้นตาสามโมกับยายเพชรสองผัวเมีย ชาวบ้านพระเกิด เป็นนายกองช้าง ยังไม่มีบุตร จึงเดินทางไปขอบุตรีชาวอินเดียที่ถ้ำไม้ไผ่ตง บ้านตะโหมด นำมาเลี้ยงไว้ชื่อว่า “นางเลือดขาว” เพราะเป็นคนผิวขาวกว่าชาวพื้นเมือง ต่อมาได้เดินทางไปขอบุตรชายชาวอินเดียที่ถ้ำไม้ไผ่เสรี่ยง ให้ชื่อว่า “กุมาร” หรือ “เจ้าหน่อ” เมื่อทั้งสองเจริญวัย ตายายจึงให้แต่งงานกัน แล้วอพยพไปตั้งบ้านที่บางแก้ว เมื่อตายายถึงแก่กรรม ทั้งสองก็ได้นำอัฐิไปไว้ที่ถ้ำคูหาสวรรค์ หลังจากนั้นทั้งสองได้สละทรัพย์ สร้างโบสถ์ วิหาร ในวัดเขียนบางแก้วและวัดสทิง เมื่อเดินทางถึงที่ใดก็สร้างวัดที่นั่น เช่น เดินทางไปลังกากับคณะทูตเมืองนครศรีธรรมราช ก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่วัดเขียนบางแก้ว สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ วัดพระงาม วัดถ้ำพระพุทธที่เมืองตรัง  สร้างวัดแม่อยู่หัวที่อำเภอเชียรใหญ่ นครศรีธรรมราช  สร้างวัดเจ้าแม่ (ชะแม) วัดเจดีย์งาม วัดท่าคุระ ปัจจุบันคือ วัดเจ้าแม่ อยู่ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นต้น

เมื่อข่าวความงามของนางเลือดขาว ทราบไปถึงกษัตริย์กรุงสุโขทัย จึงโปรดให้พระยาพิษณุโลกมารับนางเลือดขาว เพื่อชุบเลี้ยงเป็นมเหสี แต่นางมีครรภ์แล้ว จึงไม่ได้ยกเป็นมเหสี เมื่อนางคลอดบุตรแล้ว ทรงขอบุตรไว้ แล้วให้พระยาพิษณุโลก นำนางเลือดขาวกลับไปส่งถึงเมืองพัทลุง ตั้งแต่นั้นมาคนทั่วไปก็เรียกนางว่า “เจ้าแม่อยู่หัวเลือดขาว” หรือ “นางพระยาเลือดขาว” หรือ “พระนางเลือดขาว” นางได้อยู่กินกับพระกุมารจนอายุได้ 70 ปี ทั้งสองก็ถึงแก่กรรม “เจ้าฟ้าคอลาย” ผู้เป็นบุตร ได้นำศพไปประกอบพิธี ฌาปนกิจที่บ้านพระเกิด เส้นทางที่นำศพไปจากบ้านบางแก้วถึงบ้านพระเกิด เรียกว่า ถนนนางเลือดขาว

อย่างไรก็ดี..จากเค้าเรื่องนางเลือดขาวทั้งสามตำนาน แม้จะยังมีตำนานนางเลือดขาวอีกหลายสำนวน หลายท้องถิ่น โดยสำนวนเมืองพัทลุงนับเป็นสำนวนหลักที่แพร่หลายกว้างขวางมานาน พอจะเปรียบเทียบแง่มุมระหว่างสามสำนวน เพื่อหาบทสรุปและความเข้าใจได้ว่า นางเลือดขาวคือแบบอย่างของผู้หญิงดีและมีบุญแห่งเมืองใต้ ในละแวกเครือข่ายความสัมพันธ์ทางภูมินิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ปากพนัง ตรัง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่พัทลุง สงขลา ตรัง และนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน ปรากฏหลักฐานโบราณสถาน วัตถุ และชื่อบ้านนามเมืองสอดคล้องต่อเนื่องเป็นเรื่องราวต่างๆ มากมาย ในลักษณะตำนานปรัมปราประจำแต่ละท้องถิ่น ผูกให้เชื่อว่าน่าจะเก่าแก่สัมพันธ์ถึงยุคสร้างบ้านสร้างเมืองในบริเวณนี้ มีเรื่องราวที่สรุปไม่ได้ชัดว่าเป็นของดั้งเดิมหรือเติมแต่งถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับลังกาและสุโขทัย แต่สอดประสานยุคสมัยได้อย่างดี โดยเฉพาะที่เกาะลังกาวีนั้นน่าจะมีอิทธิพลจากเรื่องนางเลือดขาวในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตรัง ปากพนัง ไปสร้างเรื่องใหม่ตามเงื่อนไขของสังคมวัฒนธรรมประเพณี ดังตารางเปรียบเทียบท้ายนี้

นางเลือดขาวมะสุหรี เป็นบุตรีของชาวไทยมุสลิมจากเกาะภูเก็ตที่ย้ายไปอยู่เกาะลังกาวีเมื่อประมาณ 200 ปีก่อน เมื่อเติบโตเป็นคนเลอโฉมจนดะโต๊ะเสรีเกอร์ มรายา เจ้าเมืองลังกาวีใคร่จะได้เป็นภรรยาอีกคน แต่นางมะโฮรา ภริยาไม่ยินยอม ได้สู่ขอนางมะสุหรีให้แก่น้องชายชื่อดารุส แล้วแยกครอบครัวไปอยู่ที่หมู่บ้านมาวัต จนกระทั่งกองทัพไทยยกตีเคดาห์ (ไทรบุรี) เมืองลังกาวีถูกเกณฑ์ทัพไปช่วยรับศึกไทย โดยดารุสถูกมอบหมายให้เป็นคนนำทหารไปรบ

ทางลังกาวี มีชายชื่อดาเร็มบาง ท่องเที่ยวมาจากสุมาตราผ่านบ้าน นางมะสุหรีเชิญดื่มน้ำ แล้วสนทนาคบหาจนเป็นเพื่อนกัน นางมะโฮราซึ่งอิจฉาความงามและความดีของนางมะสุหรีรู้เข้าจึงปล่อยข่าวว่านางมะสุหรีกับดาเร็มบางคบหากันฉันชู้สาว ยุยงดะโต๊ะเสรีให้ขับไล่ดาเร็มบางไปแล้วให้ประหารนางมะสุหรีซึ่งยืนยันในความบริสุทธิ์ แต่ไม่มีใครเชื่อ สุดท้ายเมื่อประหารด้วยอาวุธอะไรไม่ได้ นางมะสุหรีจึงบอกว่ามีแต่กริชของบิดานางเท่านั้นที่สามารถฆ่านางได้ พร้อมกับอธิษฐานยืนยันความบริสุทธิ์ว่าขอให้เลือดปรากฏเป็นสีขาว และคำสาปแช่งลังกาวีเจ็ดชั่วโคตรให้มีแต่ทุกข์ยากและกันดาร ซึ่งปรากฏตามคำอธิษฐานและคำสาป หมู่บ้านมาวัตพร้อมหมู่บ้านอื่นๆ ถูกกองทัพไทยโจมตีทำลายแม้หาดทรายก็กลายเป็นสีดำ

นางมะสุหรีมีลูกชายกับดารุสคนหนึ่ง ปรากฏข่าวว่าปัจจุบันอยู่ที่ภูเก็ต
ไม่มีคำอธิบายถึงนางเลือดขาวที่บางแก้ว พัทลุง ในงานของแม่เจ้าอยู่หัว

นางเลือดขาว แม่เจ้าอยู่หัวของชาวแม่เจ้าอยู่หัว

จากเอกสารรายงานและบทนำเสนอด้วยวาจาของหัวหน้าคณะ คือผู้ใหญ่ชลอ เอี่ยมสุทธิ์ ได้เน้นย้ำว่าไม่ได้ต้องการประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องแม่นยำเต็มร้อย แต่มุ่งกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม โดยมีคณะทำงาน สัมภาษณ์ สำรวจเก็บข้อมูล ให้ชาวชุมชนช่วยกันเล่าและเขียน แล้วตรวจสอบ นำมาจัดเวทีแลกเปลี่ยนหาบทสรุปแล้วร่วมกันเขียนหลายระดับ ทั้งเวทีย่อย เวทีใหญ่ จนถึงเวทีร่วมที่ถ่ายทอดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงของจังหวัด ร่วมร้อยรัดผู้คนในสำนึกแห่งพี่น้องชาวชุมชนเดียวกัน เป็นพวกเดียวกัน อยู่ร่วมกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เอาธุระซึ่งกันและกัน แล้วช่วยกันสร้างประวัติแม่เจ้าอยู่หัวของชุมชนขึ้นใหม่เพื่อใช้กับยุคสมัยปัจจุบัน เป็นการสร้างความหมายโดยคนในชุมชนเอง ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ที่คนภายนอกสร้างความหมายและยัดเยียดให้ เกิดเป็นทุนทางสังคมที่ชุมชนร่วมเรียนรู้ และลงมือ ในสิ่งที่เชื่อ ชอบ แล้วช่วยกัน เป็นพลังสามัคคีก่อความเข้มแข็งให้ชุมชน อันเป็นฐานของการร่วมกันพัฒนาชุมชนต่อไป

โดยในเบื้องต้นนอกจากบทสรุปประวัติที่ช่วยกันเขียนแล้ว ยังได้ข้อมูลเรื่องราวสานเครือข่าย “นางเลือดขาว” อย่างกว้างขวางทั่วทั้งภาคใต้ เฉพาะที่ชุมชนแม่เจ้าอยู่หัวได้เกิดเป็นกระบวนการศรัทธาและภาคภูมิใจในเครือญาติและท้องถิ่นบนฐานจรรยาบรรณที่ดีงามตามแบบอย่างนางเลือดขาว ก่อกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่การสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่น การรวมพลังทอดกฐินสร้างรูปเคารพ ศาลา จารึก โดยมีทิศทางการพัฒนาต่อเป็นศูนย์เรียนรู้และการจัดงานประเพณีของชุมชนต่อไป

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าอาการคาใจของใครต่อใครว่าแม่เจ้าอยู่หัวคือใคร ที่สะสมจนเจ้าของท้องที่เองลุกขึ้นมาไขข้อข้องใจกันเอง จนเขียนเป็นประวัติฉบับชาวแม่เจ้าอยู่หัวจะมีพลังสร้างคุณูปการแก่ชุมชนได้มากถึงเพียงนี้ ยิ่งได้รับการขานรับจากชุมชนอื่นๆ ตลอดจนกระทั่ง สกว.เองยกให้เป็น 1 ใน 15 โครงการและผลงานวิจัยเด่นประจำปี 2545

ข้อสังเกตส่งท้ายด้วยความชื่นชมอยากมีส่วนร่วม

ทั้งนี้ผมมีสมมุติฐานว่านางเลือดขาวหลักนั้นยังน่าจะเป็นตามตำนานทางพัทลุงที่เคยเดินทางผ่านมาสร้างวัดแม่เจ้าอยู่หัว (ที่ตำบลแม่เจ้าอยู่หัวปัจจุบัน) เมื่อคราวกลับจากสุโขทัย โดยงานนี้ได้นำเรื่องราวฉบับคุณกำพล จรุงวาส (ที่ไม่ทราบที่มาและต่างจากตำนานอื่นๆ-ผู้เขียน) มาประกอบตอนต้น ประมวลกับชื่อบ้านนามเมืองเรื่องเล่าในชุมชนท้องถิ่น และลำดับกษัตริย์กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของเมืองนครศรีธรรมราช (ที่ไม่ทราบที่มา-ผู้เขียน) มาแต่งต่อเติมด้วยความพยายามที่จะทำเรื่องราวและประวัติศาสตร์ให้ชัด ทั้งๆ ที่ออกตัวไว้แต่ต้นแล้วว่าไม่ได้หวังให้ได้ชัด

ข้อมูล: กรมศิลป์ / นายกฤษฏิ์ ธนกิติธรรม
ตำนานนางเลือดขาว, สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. 2529, สถาบันทักษิณคดีศึกษา, พ.ศ. 2529 silpa-mag.com

ตำนานเขาอกทะลุ พัทลุง

ตำนานเล่าว่า ชายผู้หนึ่งชื่อนายเมือง เป็นพ่อค้าช้าง ตะแกมีเมียสองคน เมียหลวงชื่อนางศิลา และมีลูกสาวชื่อนางยี่สุ่น ส่วนเมียน้อยชื่อนางบุปผา และมีลูกชายชื่อนายชังกั้ง ลักษณะนิสัยของนายชังกั้งตรงกับชื่อคือเป็นคนเกกมะเหรก ดื้อดึง และมุทะลุ ฝ่ายเมียหลวงและเมียน้อยก็ไม่ลงรอยกัน มักทะเลาะด่าทอและตบตีกันเสมอ

วันหนึ่งนายเมืองเดินทางไปค้าขายต่างถิ่น นางยี่สุ่นลูกสาวไม่อยู่บ้านเช่นกัน นางมักอาศัยเรือสำเภาเดินทางหนีไปค้าขายถึงต่างแดน ฝ่ายนายชังกั้งนั้นก็ไม่อยู่ติดบ้าน นางบุปผา ผู้เป็นแม่ก็มิได้เป็นห่วง เพราะเอือมระอายากที่จะตักเตือนสั่งสอนลูก ภายในบ้านจึงเหลือแต่เมียหลวงและเมียน้อย ต่างก็ทำงานคนละอย่าง คือเมียหลวงนั่งทอผ้าหรือทอหูกอยู่ใต้ถุนบ้าน และเมียน้อยตำข้าวโพดโดยใช้สากตำลงไปในครก ชาวใต้เรียกการตำข้าวว่า “ซ้อมสาร”

ช่วงหนึ่งต่างเกิดปากเสียงกันอย่างรุนแรง ถึงกับบันดาลโทสะออกมาอย่างไม่ยั้งคิด นั่นคือ เมียหลวงใช้กระสวยทอผ้าซึ่งชาวใต้เรียกว่า “ตรน” ฟาดศีรษะเมียน้อยอย่างเต็มแรงจนเป็นแผลแตกเลือดไหลแดนฉาน ฝ่ายเมียน้อยก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ นางจึงใช้สากตำข้าวกระทุ้งหน้าอกเมียหลวงอย่างแรงจนอกทะลุ ในที่สุดทั้งคู่ทนความเจ็บปวดไม่ไหวถึงแก่ความตายและกลายเป็นภูเขา นั้นคือเมียหลวงเป็น “เขาอกทะลุ” ส่วนเมียน้อยเป็น “เขาหัวแตก” ซึ่งทางการเรียกว่า “เขาคูหาสวรรค์”

เครดิตภาพ khun wipark kulnirandorn


ฝ่ายนายเมืองกลับจากการค้าช้าง เมื่อพบเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเสียใจและตรอมใจ ในที่สุดก็ถึงแก่ความตายกลายเป็น “เขาเมือง หรือ เขาชัยบุรี” ซึ่งมีลักษณะคล้ายช้างหมอบ ฝ่ายลูกสาวเมื่อขึ้นจากเรือสำเภาและเห็นเหตุการณ์วิปโยคเช่นนั้น นางยิ่งโศกเศร้าเสียใจเลยถึงแก่ความตายเช่นกัน และกลายเป็น “เขาชัยสน” ซึ่งมีลักษณะคล้ายเรือสำเภา ศพสุดท้ายคือนายชังกั้งกลายเป็น “ภูเขาชังกั้ง หรือเขากัง” ปัจจุบันอยู่ในเขตโรงพยาบาลพัทลุง

เครดิตภาพ khun wipark kulnirandorn

อนุสาวรีย์พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก)

อนุสาวรีย์พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) ประดิษฐานอยู่ภายในวัดวัง สร้างโดย มูลนิธิพระยาพัทลุงขุนคางเหล็ก-สุลต่านสุลัยมาน

=============================
พระยาพัทลุง นามเดิมชื่อ ขุน เชื้อสายรุ่นเหลนของสุลต่านสุลัยมาน เกิดและเติบโตในกรุงศรีอยุธยา จึงพูดภาษาปักษ์ใต้ไม่ได้ เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุ 14 ปี ต่อมา เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกได้เข้าถวายตัวช่วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เมื่อปี 2312 ท่านมีโอกาสตามเสด็จลงไปปราบก๊กเจ้าพระยานคร ครั้นเสร็จกาล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดเกล้าฯให้เป็น พระยาภักดีนุชิตสิทธิสงคราม ช่วยว่าการเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาในปี พ.ศ.2315 ก็โปรดฯให้ไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาแก้วโกรพพิไชย” รั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุงจนถึงรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ.2332 รวมที่รับราชการทั้งสิ้นถึง 17 ปี

ท่านได้เปลี่ยนการนับถือศาสนาอิสลามมาเป็นพุทธตามแบบอย่างของพระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้นซึ่งก็คือพระเจ้าตากสินมหาราช และการได้รับพระราชทานนามขุนคางเหล็กเพราะท่านเป็น คนกล้าพูดกล้าทำเป็นนักรบตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทำศึกเคียงข้างพระเจ้าตากสินมหาราชตั้งแต่สมัยอยุธยาแตกพ่ายเรื่อยมาจนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง

==============================

ที่นี่พัทลุง : บอกข่าว เล่าเรื่อง คนเมืองลุง

ประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ

วัดเขาอ้อ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ยังมีการกล่าวถึงอยู่ในพงศาวดารพัทลุง ดังปรากฏในหนังสือ “พระสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า) อาจารย์ผู้เฒ่าวัดเขาอ้อ” ซึ่งอาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์เอกทางไสยเวทคนหนึ่งของสำนักวัดเขาอ้อได้ค้นคว้าและเรียบเรียงขึ้นมา เป็นประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ มีความว่า

“เท่าที่ค้นพบจากพงศาวดาร และจากคำบันทึกของพระ เจ้าของตำรา พระอาจารย์ทุกองค์ในสำนักวัดเขาอ้อมีความรู้ความสามารถในทางไสยศาสตร์ให้แก่ทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นเจ้าเมือง และนักรบมาแต่ครั้งโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์ที่ 1 ชื่อ พระอาจารย์ทอง ในสมัยนั้นทางฟากตะวันตกของทะเลสาบตรงกับวัดพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน ปัจจุบันนี้

ครั้งนั้น ตามพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวว่า ยังมีตายาย 2 คน ตาชื่อ สามโม ยายชื่อ ยายเพ็ชร์ ตายายมีบุตรหลานบุญธรรมอยู่ 2 คน ผู้ชายชื่อ กุมาร ผู้หญิงชื่อ เลือดขาว นางเลือดขาวกล่าวว่าเป็นอัจริยะมนุษย์ คือ เลือดในตัวนางมีสีขาว ผิวขาวผิดกับมนุษย์ธรรมดาสามัญ

ตาสามโมเป็นนายกองช้าง หน้าที่จับช้าง เลี้ยงช้างถวายพระยากรงทอง ปีละ 1 เชือก

เมื่อบุตรธิดาทั้งสองเจริญวัยพอสมควรแล้ว ตายายจึงนำไปฝากให้พระอาจารย์ทอง วัดเขาอ้อ สอนวิชาความรู้ให้ พบบันทึกในตำราว่าเริ่มนำตัวไปถวายพระอาจารย์ทองเมื่อวันพฤหัสบดี ปีกุน เดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 301 (พ.ศ.1482) จะศึกษาอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่าเป็นผู้มีความรู้ทางอยู่ยงคงกระพัน กำบังกายหายตัว และอื่นๆ เป็นอย่างดียิ่ง ต่อมาตายายให้บุตรบุญธรรมทั้งสองแต่งงานเป็นสามีภรรยากัน พระยากรงทองโปรดให้ไปเป็นเจ้าเมืองชื่อพระกุมารและนางเลือดขาว ตั้งเมืองอยู่ที่บางแก้วฝั่งทะเลสาบตะวันตก ชื่อเมืองตะลุง ได้สร้างวัดและเจดีย์วัดตะเขียน (วัดบางแก้ว ตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เดี๋ยวนี้)


การที่ให้ชื่อเมืองว่า เมืองตะลุง อาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นหลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง พระกุมารและนางเลือดขาวเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างวัดวาอาราม พระพุทธรูป พระเจดีย์ ในเขตเมืองพัทลุง เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองตรัง หลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดบางแก้ว วัดสทังใหญ่ เมื่อปีพ.ศ. 1493 สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง 1 วัด สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ พอจะจับเค้ามูลได้ว่าวัดเขาอ้อมีมาก่อนเมืองพัทลุง เพราะกุมารมาศึกษาวิชาความรู้ก่อนเป็นเจ้าเมือง”

และยังมีตอนหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องถึงประวัติของหลวงพ่อทวด แห่งวัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี แต่ครั้งยังอยู่วัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ว่า

“เมื่อจุลศักราช 991 (พ.ศ.2171) พระสามีรามวัดพะโคะ หรือที่เราทราบกันเดี๋ยวนี้ว่า หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ซึ่งประชาชนในสมัยนั้นยกย่องถวายนามว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ท่านได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นผู้แตกฉานในอรรถธรรม ครั้งนั้นยังมีพราหมณ์เป็นนักปราชญ์มาจากประเทศสิงหล (ลังกา) มาตั้งปริศนาปัญหาธรรมที่แสนยาก พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระสามีรามเถระแก้ปัญหาธรรมนั้นๆ จนชนะพราหมณ์ชาวสิงหล จึงพระราชทานยศเป็นพระราชมุนี

เมื่อกลับมาเมืองพัทลุงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระรัตนมหาธาตุไว้บนเขาพะโคะ สูง 1 เส้น 5 วา มีระเบียงล้อมรอบพระเจดีย์

ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้นฉลองพระเจดีย์นั้น ท่านอาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่งชื่อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นชื่อที่ยกย่องเช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าพะโคะ นำพุทธบริษัทไปในงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบ แสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไปถึงเขาพะโคะ ซึ่งไกลจากทะเลมาก ทำให้ประชาชนที่เห็นอภินิหารเคารพนับถือ และปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นเรียกกันว่า “ที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ”

ต่อมา ท่านสมเด็จเจ้าพะโคะ ให้คนกวนข้าวเหนียวด้วยน้ำตาลโตนด ภาษาภาคใต้เรียกว่า เหนียวกวน ทำเป็นก้อนยาวประมาณ 2 ศอก โตเท่าขา ให้พระนำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทอง วัดเขาอ้อ ครั้นถึงเวลาฉันท่านสมเด็จเจ้าจอมทองสั่งให้แบ่งถวายพระทุกองค์ ศิษย์วัดตลอดถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้ เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้า ทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทอง ท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านจึงเอามือลูบ แล้วส่งให้ศิษย์ตัดแบ่งถวายพระอย่างข้าวเหนียวธรรมดา

อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแตงโมใบใหญ่ 2 ลูก ไปถวายสมเด็จเจ้าพะโคะ พอถึงเวลาฉันก็ไม่มีใครผ่าออก สมเด็จเจ้าพะโคะทราบเข้าก็หัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่า สหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเรา ท่านรับแตงโมแล้วผ่าด้วยมือของท่านเองออกเป็นชิ้นๆ ถวายพระ

การแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งมีมากอาจารย์ด้วยกัน ต่อจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุกๆ องค์ ได้แสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอดมา จึงเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทุกชั้น เจ้าเมืองพัทลุงทุกคนต้องไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อ

กล่าวสำหรับเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ เท่าที่สืบค้นพบจนถึงปัจจุบัน มี 11 รูป ด้วยกัน ดังนี้

1. พระอาจารย์ทอง

2. พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง

3. พระอาจารย์พรมทอง

4. พระอาจารย์ไชยทอง

5. พระอาจารย์ทองจันทร์

6. พระอาจารย์ทองในถ้ำ

7. พระอาจารย์ทองนอกถ้ำ

8. พระอาจารย์สมภารทอง

9. พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต

10. พระอาจารย์ปาล ปาลธฺมโม

11. พระครูอดุลธรรมกิตติ์ (กลั่น อคฺคธมฺโม)

พระอาจารย์วัดเขาอ้อนั้นล้วนต่างมีวิชาความรู้ความสามารถมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งนี้เพราะต่างศึกษาวิชากันมาไม่ขาดระยะ ตำราและวิชาความรู้ที่เป็นหลัก คือ การศึกษาเวทมนตร์คาถาเป็นหลัก เรียนตั้งแต่ธาตุ 4 ธาตุ การตั้งธาตุ หนุนธาตุ แปลงธาตุ และตรวจธาตุ วิชาคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด สอนให้รู้กำเนิดที่มาของเลขยันต์อักขระต่างๆ

นอกเหนือจากการสอนวิชาความรู้ทางไสยเวทแล้ว ยังสอนวิชาความรู้เกี่ยวกับรักษาโรคด้วยสมุนไพร

มีเรื่องเล่าขานถึงปาฏิหาริย์ความศักดิ์สิทธิ์ในวิชาของอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อมากมาย อย่างอดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งนับว่ามีบุญญาวาสนาสูงส่งยิ่งนัก นอกจากจะมีสานุศิษย์มากมายแล้ว สัตว์ป่านานาชนิดยังเข้ามาพึ่งพาอาศัยอยู่ในวัดเป็นจำนวนมาก และไม่มีผู้ใดเข้ามาทำร้ายทำอันตรายต่อสัตว์เหล่านั้น ด้วยต่างทราบกันว่า ท่านให้การปกปักรักษาเหล่าสัตว์เหล่านั้น ที่สำคัญคนละแวกวัดเขาอ้อล้วนทราบดีว่าท่านมีวาจาศักดิ์สิทธิ์

ทว่าครั้งหนึ่งคนต่างถิ่นตามล่ากวางเผือกตัวหนึ่งของสมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งอาศัยอยู่ในวัดเขาอ้อ เป็นกวางที่เชื่องมาก โดยปกติแล้วกวางตัวนี้จะหายไปจากเขตวัดเพื่อหากินไกลๆ ครั้งละ 2-3 วัน แล้วจะกลับมาหมอบอยู่หน้ากุฏิท่าน ปฏิบัติอยู่เช่นนี้เป็นประจำ วันหนึ่งกวางเผือกตัวนี้ได้วิ่งเข้ามาหมอบอยู่หน้ากุฏิของท่านด้วยอาการแสดงความหวาดกลัวเหมือนหนีสัตว์ร้ายมา เผอิญสมเด็จเจ้าจอมทองนั่งอยู่หน้ากุฏิ และได้มองไปที่กวางด้วยอำนาจญาณสมาบัติอันสูงส่งของสมเด็จเจ้าจอมทอง จึงทราบได้ทันทีว่ากวางเผือกหนีอะไรมา ท่านจึงได้กล่าวกับพระภิกษุที่นั่งอยู่ในที่นั้นว่า “เจ้ากวางเผือกเกือบจะไปเป็นอาหารของเขาเสียแล้ว” ยังไม่ทันที่จะกล่าวสิ่งใดต่อพลันก็มีคนถือหอกวิ่งเข้ามาข้างหน้ากุฏิทำท่าง้างหอกในมือเตรียมจะทิ่มแทงกวางเผือกซึ่งหมอบอยู่ใกล้ๆ ท่าน สมเด็จเจ้าจอมทองจึงตวาดออกไปดังกังวานว่า “หยุดเดี๋ยวนี้เจ้ามนุษย์ไม่มีศีลมีธรรม จะฆ่าสัตว์แม้แต่ในเขตวัดไม่เว้น เคยเบียดเบียนแต่สัตว์ต่อนี้ไปสัตว์จะเบียดเบียนเจ้าบ้างล่ะ”

ชายผู้ถือหอกถึงกับหยุดชะงักนิ่ง และเมื่อสิ้นคำพูดของสมเด็จเจ้าจอมทอง ชายผู้นั้นก็ร้องลั่นสลัดหอกในมือทิ้ง แล้วร้องขึ้นมาว่า “งู งู ฉันกลัวแล้วงู” เพราะเห็นหอกที่ตัวเองถือเป็นงู จากนั้นจึงวิ่งหนีออกจากวัดไปพร้อมส่งเสียงร้องลั่นด้วยความกลัวงู แต่ไม่ว่าจะวิ่งไปทางไหนก็เห็นงูไล่ล่าเขาอยู่ตลอด ผู้ที่เล่าเรื่องนี้กล่าวว่า ชายผู้นี้ต้องวิ่งไปเรื่อยๆ หยุดนิ่งเมื่อใดจะเห็นงูไล่ล่าตัวเองอยู่ตลอด

ยังมีกาเผือกอีก 2 ตัว ที่อาศัยเกาะต้นไม้อยู่หน้ากุฏิสมเด็จเจ้าจอมทองเป็นประจำ อาศัยกินข้าวก้นบาตรที่ท่านโปรยให้ทุกวัน สมเด็จเจ้าจอมทองเคยเอ่ยถึงกาทั้ง 2 ตัวนี้ว่า “เป็นสัตว์ที่ประเสริฐไม่กินเนื้อสัตว์หรือสิ่งมีชีวิต” มีพระลูกวัดเคยโยนเศษเนื้อสัตว์จากอาหารที่ญาติโยมใส่บาตรให้กาทั้ง 2 แต่ก็หาได้กินไม่ กลับเลือกกินแต่เฉพาะเม็ดข้าวสุกเท่านั้น

อยู่มาวันหนึ่งกาเผือกทั้ง 2 บินลงมาเกาะใกล้ๆ กับที่สมเด็จเจ้าจอมทองนั่ง แล้วส่งเสียงร้องลั่นกุฏิอยู่เป็นเวลานาน สมเด็จเจ้าจอมทองก็นั่งนิ่งสงบฟังเสียงกาทั้ง 2 อย่างตั้งใจ ครู่หนึ่งจึงเอ่ยกับพระภิกษุลูกวัดที่อยู่บนกุฏิท่านว่า “กาเผือกเขามาร่ำลา ถึงเวลาที่เขาจะต้องบินกลับไปในป่าแล้ว จะไม่กลับมาอีก เจ้ากาตัวเมียจะไปวางไข่อีกไม่นานเขาคงจะต้องตาย คงไม่ได้มาเขาอ้ออีก เขาจะมาเขาอ้ออีกก็คงชาติต่อไป เขาจะต้องมาแน่”

ต่อเมื่อกาเผือกทั้ง 2 ได้รับศีลรับพรจากสมเด็จเจ้าจอมทองแล้ว ได้บินทักษิณารัตนะรอบกุฏิแล้วบินมุ่งเข้าป่าไป จากนั้นไม่มีใครพบเห็นกาเผือกทั้ง 2 อีกเลย

กล่าวสำหรับอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อที่พอสืบค้นประวัติได้บ้าง นับแต่สมัยพระครูสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (ทองเฒ่า) แต่จะเป็นเจ้าอาวาสเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า “พ่อท่านเขาอ้อ”

เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังทางวิทยาคมไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ จนเป็นที่เคารพนับถือยำเกรงของคนทั่วไป

กล่าวว่าตรงศีรษะของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) มีเส้นผมสีขาวซึ่งไม่สามารถโกนหรือตัดขาดได้

น่าเสียดายว่าอัตโนประวัติของพระครูสังฆสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) สืบค้นได้จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังจะพอจดจำกันได้บ้างว่า พื้นเพของท่านเป็นชาวบ้านสำนักกอ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บิดานั้นไม่ทราบชื่อ ส่วนมารดาชื่อ นางรอด ตัวของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) เป็นพี่คนโต และมีน้อง 2 คน เป็นชายและหญิง ครอบครัวมีอาชีพทำนา

ในการอุปสมบทจะเป็นเมื่อใด ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ ตลอดจนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ หาทราบไม่ แต่มีเรื่องเล่ากันว่า ก่อนที่ท่านจะบวชได้ล้มป่วยมีอาการหนักมาก จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานบนบานศาลกล่าวว่า หากหายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วยจะบวชเป็นการถวายแก้บน หลังจากนั้นไม่นานอาการป่วยไข้ก็ทุเลาเบาบาง และหายไปในที่สุดอย่างน่าอัศจรรย์

ซึ่งต่อมาได้อุปสมบทตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้ และได้ศึกษาวิชากับพระอาจารย์เอียดเหาะได้ วัดดอนศาลา ซึ่งเป็นศิษย์สายสำนักวัดเขาอ้อ เป็นที่กล่าวขานถึงวิชาพุทธาคมของพระอาจารย์เอียดเหาะได้ว่า เหตุที่ท่านมีสมญานามเช่นนั้นสืบเนื่องมาจาก ทุกวันพระ 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ พระอาจารย์เอียดเหาะได้ จะเหาะไปบำเพ็ญภาวนาในถ้ำที่วัดเขาอ้อเป็นประจำ ชาวบ้านหลายคนได้พบเห็นเป็นประจักษ์ต่อสายตา จึงได้ขนานนามท่านว่า “พระอาจารย์เอียดเหาะได้”

กล่าวสำหรับพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) ได้ชื่อว่ามีตบะบารมีสูงส่งทีเดียว ถึงกับเคยตวาดคนทีเดียวจนเป็นบ้า และเป็นผู้ที่เข้มงวดกวดขันกับบรรดาลูกศิษย์เป็นอย่างยิ่ง หากพบเห็นว่าทำสิ่งใดไม่ถูกต้องก็จะตำหนิตักเตือน ทั้งนี้ก็ด้วยความปรารถนาดีที่อยากให้ศิษย์ของท่านได้ดีในวิชาความรู้

ในส่วนของมารดาของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ในช่วงบั้นปลายของชีวิตได้บวชชีที่วัดเขาอ้อ โดยพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) ได้ปลูกกุฏิให้พำนักอยู่ใกล้ๆ กับกุฏิของท่าน เพื่อจะสะดวกในการปรนนิบัติตามหน้าที่ของบุตรผู้กตัญญูตราบจนสิ้นอายุขัย

สมณศักดิ์ที่ “พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต” เจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ ได้รับพระราชทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย

พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2470 ขณะอายุได้ 78 ปี

สิ่งหนึ่งที่เหลือไว้สำหรับให้รำลึกถึง คือ วัตถุมงคลที่พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) ได้สร้างขึ้น นอกเหนือจากพิธีกรรมของสำนักวัดเขาอ้อ คือ พิธีอาบว่านแช่ยา พิธีหุงข้าวเหนียว พิธีป้อนน้ำมันงา ซึ่งในสมัยท่านเป็นพิธีกรรมที่เข้มขลังเป็นอย่างยิ่ง

วัตถุมงคลที่สร้างมีหลายชนิดทั้ง มีดหมอ ตะกรุด ผ้ายันต์ ลูกไม้มงคล และพระปิดตาพระอาจารย์ทองเฒ่า

พระปิดตาของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (ทองเฒ่า) พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา ที่พบเห็นจะเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อตะกั่วผสมดีบุก

หากเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ วรรณะของเนื้อโลหะออกสีน้ำตาลไหม้เข้ม หากเป็นเนื้อตะกั่วผสมดีบุก จะปรากฏคราบสนิมสีแดงเรื่อๆ  ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด

ชุมโจรบ้านดอนทราย : รุ่งดอนทรายและดำหัวแพร

ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฏเกล้าเจ้าหัวอยู่ ในท้องที่ตำบลดอนทราย อำเภอทะเลน้อย (คืออำเภอควนขนุนปัจจุบัน) เมืองพัทลุง ได้เกิดชุมโจรขนาดใหญ่ขึ้นคณะหนึ่งมีร่งุดอนทรายเป็นหัวหน้าดำหัวแพรเป็นรองหัวหน้า (เมื่อรุ่งดอนทรายเสียชีวิตแล้วดำหัวแพรได้เป็นหัวหน้าสืบต่อมา) มีคนเกเรและนักเลงหัวไม้จากท้องถิ่นใกล้เคียง และจากหัวเมืองตรัง เมืองนครศรีธรรมราชมาเข้าด้วยเป็นจำนวนมาก โจรกลุ่มนี้ได้ประกาศไม่ให้ชาวบ้านติดต่อกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง รวมทั้งห้ามเสียเงินรัชชูปการรวมไปถึงภาษีอื่น ๆ อีกด้วย สร้างความหนักใจให้แก่เจ้าหน้าที่ปกครองเป็นอันมาก

กรณีการเกิดชุมโจรที่ตำบลดอนทราย เมืองพัทลุง จนมีผู้ตั้งตัวเป็นหัวหน้าก็มีสาเหตุจากการใช้ชีวิตโจรปราบโจรของฝ่ายบ้านเมืองนี้เอง เริ่มต้นจากนายอำเภอทะเลน้อยได้ติดต่อกำนันตำบลดอนทราย (ชื่อ สี คนทั่ว ๆ ไปเรียกสีสงคราม) ให้หาทางจับผู้ร้ายในท้องที่ส่งดำเนินคดี โดยแนะให้ติดสินบนต่อคนร้ายว่าจะไม่เอาผิดบ้าง จะตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้าง หากสามารถจับเป็นเพื่อนผู้ร้ายด้วยกันส่งให้กำนัน ผลของการปราบปรามโจรโดยวิธีนี้ทำให้โจรแตกแยกและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และมีการรวมตัวกันเป็นหมู่เป็นเหล่ามากยิ่งขึ้น การดำเนินการจับกุมรุ่งดอนทรายนั้น กำนันได้ติดต่อผู้ใหญ่บ้านโคกวัด ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของรุ่งดอนทราย เพราะทราบอยู่ว่าผู้ใหญ่อินติดต่อส่งเสบียงให้แก่รุ่งดอนทรายอยู่เป็นประจำ

วันที่จับกุมรุ่งดอนทรายได้นั้น ผู้ใหญ่อินได้นัดให้รุ่งดอนทรายมารับข้าวห่อที่ใกล้บ้านในสวน (หมู่ที่ 3 ตำบลควนขนุนแต่เดิมขึ้นตำบลชะมวง) และได้จัดพรรคพวกที่ล่ำสันแข็งแรง คือ นายเอียด นายช่อ นายไขดือ ร่วมไปด้วย ขณะรุ่งดอนทรายและน้องชายชื่อแจ้งกำลังนั่งรับประทานข้าวห่อ นายเอียดได้ใช้ขวานตีหัวรุ่งดอนทรายล้มลง นายไข่ดือขึ้นคร่อมมัดมือไว้ ขณะเดียวกันนายช่อก็ตีหัวเข่านายแจ้ง ผู้ใหญ่อินเข้าช่วยจับ จึงสามารถส่งตัวให้กำนันได้ทั้ง 2 คน ผลของการดำเนินคดี (คดีปล้นทรัพย์) นายรุ่งและนายแจ้งได้ให้การซัดทอดถึงนายช่อด้วย เป็นเหตุให้ทั้ง 3 คน ต้องติดคุก และทางการส่งไปจำไว้ ณ เรือนจำมณฑลที่นครศรีธรรมราช

ขณะติดคุก รุ่งดอนทรายได้ติดต่อให้ญาติจัดยาพิษไปให้และได้ลอบวางไว้ในอาหาร ทำให้นายช่อและนายแจ้งน้องชายต้องเสียชีวิตในคุกนั่นเอง หลังจากนั้นจึงได้วางแผนกับเพื่อนนักโทษชื่อนายสังหนีจากคุกได้สำเร็จ กลับมาถึงบ้านก็ตรงไปฆ่ากำนันสีสงครามตายอย่างอุกอาจ และประกาศตนเป็นหัวหน้าทำให้โจรก๊กเล็กก๊กน้อยมาร่วมด้วยทั้งหมด บรรดาลูกสมุนเรียกรุ่งดอนทรายว่าท่านขุนพัท ส่วนคนทั่วไปเรียกว่ารุ่งขุนพัทตั้งแต่นั้นมาและลูกน้องใกล้ชิดอีกหลายคนก็ตั้งตัวเป็นขุนกัน

ตั้งเป็นชุมโจรสมบูรณ์แบบ

เมื่อรุ่งดอนทรายประกาศตัวเป็นหัวหน้าแล้ว ก็ได้จัดทำปืนปลอกเงินเป็นอาวุธประจำตัวหัวหน้า การสั่งการใด ๆ หากสั่งด้วยตัวเองไม่ได้ก็จะมอบปืนไปแทนตัว ใครจะอ้างคำสั่งถ้าไม่มีปืนแสดงก็ไม่ต้องเชื่อถือ นอกจากนั้นก็ประกาศไม่ให้ชาวบ้านติดต่อกับเจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นทางใด เพราะพวกพ้องของตนจะให้ความคุ้มครองแทน นอกจากนั้นไม่ว่าจะไปปล้น ณ ท้องที่ใดให้ปฏิบัติเคร่งครัด ดังนี้

หากเจ้าทรัพย์ไม่ต่อสู้ห้ามทำร้าย
ทรัพย์สินเครื่องใช้และเครื่องแต่งตัวที่อยู่ติดตัวจะไม่ถือเอา จะเอาเฉพาะของเก็บเท่านั้น
หากเคยไปพักพิง หลบแดดหลบฝนที่บ้านใด จะให้ความคุ้มครองบ้านนั้น ใครจะรังแกไม่ได้

การให้ความคุ้มครองนั้น โจรคณะนี้ได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงสามารถเพิ่มจำนวนพรรคพวกได้มาก อาจารย์เปลื้อง ณ นคร เล่าว่าบิดาท่านเคยเล่าให้ฟังว่าโจรคณะนี้เก่งกล้าถึงขนาดท้ายิงกับเจ้าหน้าที่ การต่อสู้ถึงขนาดขุดสนามเพลาะสู้กัน

ชุมโจรสมัยดำหัวแพรเป็นหัวหน้า

เมื่อรุ่งดอนทรายเสียชีวิตแล้ว ดำหัวแพรได้เป็นหัวหน้าชุมโจรต่อมา สิ่งแรกที่ดำหัวแพรกระทำเพื่อให้เป็นที่เกรงขามก็คือ กำจัดหรือตามล่าผู้ที่มีส่วนในการนำเจ้าหน้าที่มาล้อมยิงรุ่งดอนทราย ได้แก่ นายช้ำน้องชายของกำนันคลิ้ง และนายยกบ้านยางแค (สำหรับนางขีดหรือหนูขีดลูกสาวกำนันคลิ้งที่เดินทางไปบอกเจ้าหน้าที่ในคืนวันเกิดเหตุนั้น ดำหัวแพรมิได้แก้แค้นเพราะรักษาสัจจะเรื่องไม่ทำร้ายผู้หญิงและเด็ก)

ต่อมาในราวต้นปี พ.ศ. 2463 พวกโจรทราบว่า นายกลับ เรืองมา ชาวบ้านหนองปลาไหล ได้ต้อนรับเจ้าหน้าที่ โดยให้รับประทานอาหารที่บ้าน ดำหัวแพรจึงนำพวกพ้องไปยังบ้านนายกลับ แต่เป็นเวลาที่นายกลับไม่อยู่บ้าน จึงได้ทำลายข้าวของ เช่น ทุบไหน้ำผึ้ง (น้ำตาลเหลว) และทุบตีคนในบ้านหวังจะให้เข็ดหลาบ

เรื่องการบุกไปบ้านนายกลับ เรืองมา นี้ มีข้อเขียนกล่าวถึงว่า พวกโจรได้ฆ่าแม่และลูกเมียนายกลับหมด รวมถึงให้เผาบ้านเสียด้วย ผู้เขียนได้พยายามสอบถามคนที่เกี่ยวข้องและรู้เรื่องนี้พอสมควร สรุปได้ว่า ไม่มีการฆ่าแม้แต่คนเดียว การเผาบ้านก็เผาเฉพาะเรือนข้าวซึ่งอยู่ห่างตัวบ้านที่พักอาศัย ผู้เขียนยังได้เคยรู้จักลูกชายของนายกลับคนหนึ่ง มีอาชีพรับราชการครูชื่อนายกลั่น ลูกชายของครูกลั่นก็เป็นนักเรียนร่วมชั้นกับผู้เขียน ยิ่งการกล่าวถึงการฆ่าแม่ เมีย ด้วยแล้วยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะดำหัวแพรมีสัจจะเรื่องไม่ฆ่าผู้หญิงและเด็ก

การไปบุกบ้านของนายกลับ เรืองมา นี้เองที่นำไปสู่จุดจบของดำหัวแพร นายกลับ เรืองมา ได้เดินทางไปยังจังหวัดสงขลา ถวายฎีกาความเดือดร้อนต่ออุปราชปักษ์ใต้ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ องค์อุปราชจึงทรงสั่งการให้นายพันตำรวจโท พระวิชัยประชาบาล (บุญโกย เอโกบล) ผู้บังคับการตำรวจภูธร มณฑลนครศรีธรรมราช ดำเนินการปราบปรามโจรคณะนี้ให้ราบคาบ

ขุนโจรสิ้นชื่อ

ในที่สุดสายสืบรายงานเจ้าหน้าที่ว่า ดำหัวแพรกับพวกรวม 3 คนมากินหวาก (กะแช่) อยู่ที่ใกล้หนองคลอด ทุ่งหัวคด (ขึ้นตำบลโตนดด้วน) เจ้าหน้าที่ประกอบด้วย จ่านายสิบตำรวจสิริ แสงอุไร นายสิบตำรวจตรีนำ นาควิโรจน์ และพลตำรวจร่วง สามารถจึงได้เข้าจับกุม ทั้ง 2 ฝ่ายยิงต่อสู้กันเป็นสามารถจนหมดกระสุน จ่านายสิบตำรวจสิริเหลือกระสุนอยู่เพียงนัดเดียว จึงแกล้งทำล้มหมอบระวังอยู่ ดำหัวแพรคิดว่าถูกกระสุนที่ตนยิงจึงวิ่งปีบ (ร้องตะโกน) เข้าไปหมายจะเชือดคอด้วยพร้าลืมงอประจำตัว พอเข้าไปใกล้ก็ถูกยิงสวนถูกคางล้มลง สมุนของดำหัวแพรเข้าไปช่วยพยุง ตำรวจทั้ง 3 คนก็วิ่งหนีด้วยเป็นเวลาจวนค่ำ และไม่ทราบจำนวนที่แท้จริงของพวกคนร้าย

นายสีเล่าว่าผู้ที่เข้าไปช่วยพยุงดำหัวแพร คือ แจ้ง ห้วยท่อม และหมุด (จำบ้านที่อยู่ไม่ได้) คนทั้งสองช่วยกันพยุงดำหัวแพรไปถึงใกล้หนองไผ่หรือหนองขี้หมาก็ให้นอนพัก แล้วบอกจะไปหายาหาข้าวมากินกัน เมื่อกลับมาอีกครั้งก็พบดำหัวแพรแขวนคอตายอยู่ใกล้หนองไผ่นั่นเอง จึงได้ช่วยกันฝังศพไว้ ณ ที่นั้น

อีก 2 วันต่อมา เจ้าหน้าที่ตามไปพบก็ให้ขุดศพขึ้นมาแล้วนำไปผูกประจานไว้กับต้นตาลหน้าวัดกุฏิ ศพเน่าแล้วก็ให้เผา ณ ใกล้ ๆ ต้นตาลนั่นเอง มีเรื่องเล่ากันอีกว่า ผีดำหัวแพรดุมาก กลางคืนไม่ค่อยมีใครกล้าเดินผ่าน บางทีมีคนเอาไม้เรียวไปเฆี่ยนตรงที่เผาศพและใช้ให้ผีไปเข้าสิงคน

เมื่อดำหัวแพรตายแล้ว ก็ไม่มีใครกล้าตั้งตัวเป็นหัวหน้าชุมโจรอีกเลย ประกอบกับพวกโจรถูกจับกุมไปดำเนินคดีจนหมดรายชื่อที่ทางการต้องการตัว กองอำนวยการปราบปรามก็เลยยุบเลิกในปลายปี พ.ศ. 2463 นั่นเอง

มีข้อเขียนและคำบอกเล่าบางเรื่องที่เห็นควรบันทึกไว้ด้วย คือ

ชื่อ ดำหัวแพร ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเป็นคนมีผมดำสลวยงามกว่าชาวบ้านทั่วไป ตอนเป็นเด็กนิยมโพกหัวผ้าแพรสีเขียว พระมหาเล็ก ฉนทกโร วัดสุวรรณวิชัย เล่าว่าได้ทราบมาว่า ผ้าแพรนั้นเป็นแพรอย่างหนา พวกโจรมักนิยมนำติดตัวไปด้วย เพราะแพรดังกล่าวนั้นใช้คัดเลือด (บังคับให้เลือดหยุดไหล) ได้


เรื่องคณะชุมโจรที่มีเป็นจำนวนมากนั้น อะไรเป็นเครื่องจูงใจและเป็นสิ่งผูกมัดให้ร่วมมือกัน ปัญหาเรื่องนี้ได้ความว่าส่วนใหญ่เป็นคนที่มีคดีติดตัว และมีอยู่อีกไม่น้อยที่มีเป็นพรรคพวกก็เพราะไม่ต้องการเสียภาษีและเงินรัชชูปการ หัวหน้าโจรทั้งสอง คือรุ่งดอนทรายและดำหัวแพร ให้ความเป็นธรรมในการแบ่งทรัพย์ที่หามาได้ การดูแลลูกน้องมีลักษณะจัดตั้งโดยถือระบบอาวุโสและความสามารถ มีสัญลักษณ์ที่บอกให้รู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน คือการแบกพร้าลืมงอที่เรียกว่า แบกบังหู คือแบกให้ส่วนงอของคอพร้าคร่อมบ่าพอดี ดึงด้ามแนบตัวจนตัวพร้าขึ้นไปบังหูพอดี และที่บุคคลอื่นไม่กล้าแบกเลียนแบบนั้น นอกจากกลัวโจรแล้วยังกลัวถูกเจ้าหน้าที่จับกุมอีกด้วย นอกจากนั้นพวกโจรยังเคร่งเรื่องข้อห้ามที่มิให้ชาวบ้านติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยเด็ดขาด ใครไม่เชื่อจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง

เรื่องการสร้างอนุสาวรีย์ดำหัวแพร ที่มีข้อเขียนและคำบอกเล่ากันทั่วไปนั้น ผู้เขียนได้เคยไปดูรูปปั้นที่เขาชังกั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2497 ปรากฏว่าส่วนที่เป็นพร้าหักหายไปเสียแล้ว มีจารึกที่ฐานรูปว่า “เทพดาประจำเขาชังกั้งนี้ แปลว่า คือเกะกะ” อาจารย์เทพ บุณยประสาท อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพัทลุง เล่าว่า แต่เดิมมีป้ายแขวนไว้กับพร้าว่า “อย่าเอาอย่างอ้ายชังกั้งนี้โว้ย” ไม่เคยมีข้อความใดบ่งว่าเป็นอนุสาวรีย์ของดำหัวแพร และเล่าว่า รูปนี้แต่เดิมเจ้าคุณคณาศัยให้ปั้นพระพุทธรูปเพื่อประดิษฐานไว้ในถ้ำ มีปูนซีเมนต์เหลือจึงให้ปั้นเป็นรูปนักเลงหัวไม้ ตั้งไว้หน้าคุกเพื่อไม่ให้ใครเอาเยี่ยงอย่าง การอ้างว่าเป็นอนุสาวรีย์โจร เป็นเรื่องว่ากันไปเอง

ยังมีรูปที่ถ้ำนางคลอด วัดคูหาสวรรค์อีกแห่งหนึ่ง มีผู้อ้างว่าเป็นรูปปั้นดำหัวแพร ขอเรียนว่า รูปดังกล่าวนั้น ภิกษุรูปหนึ่งดูเหมือนชื่อพระคล้าย ได้ปั้นขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2495 เป็นต้นมา ตอนผู้เขียนไปดูเมื่อปี 2497 ยังปั้นไม่เสร็จ และรูปที่ปั้นไว้ก็ไม่ใช่รูปที่ปรากฏในหนังสือของ ไสวย นิยมจันทร์

เครดิต : nathalenoi.com